สตาร์ วอร์ส: เดอะ โคลน วอร์ส (ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์ พ.ศ. 2551)
สตาร์ วอร์ส: เดอะ โคลน วอร์ส | |
---|---|
ชื่อเรื่องในภาพยนตร์และในตอนของหกซีซันแรก | |
ประเภท | |
สร้างโดย | จอร์จ ลูคัส |
เค้าโครงจาก | สตาร์ วอร์ส โดย จอร์จ ลูคัส |
เขียนโดย |
|
กำกับโดย | เดฟ ฟิโลนี (ผู้กำกับดูแล) |
เสียงของ |
|
บรรยายโดย | ทอม เคน |
ผู้ประพันธ์เพลง | เควิน ไคเนอร์ |
ประเทศแหล่งกำเนิด | สหรัฐ |
จำนวนฤดูกาล | 7 |
จำนวนตอน | 133 (รายชื่อตอน) |
การผลิต | |
ผู้อำนวยการผลิต |
|
ผู้อำนวยการสร้าง | แครี ซิลเวอร์ (ซีซัน 1–6) แคโรไลน์ เคอร์เมล (ซีซัน 7) |
ความยาวตอน | 19-26 นาที |
บริษัทผู้ผลิต | |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย |
|
ออกอากาศ | 3 ตุลาคม ค.ศ. 2008 – 4 พฤษภาคม ค.ศ. 2020[a] |
การแสดงที่เกี่ยวข้อง | |
สตาร์ วอร์ส: เดอะ โคลน วอร์ส (อังกฤษ: Star Wars: The Clone Wars) เป็นแอนิเมชันชุดในรูปแบบคอมพิวเตอร์แอนิเมชัน สร้างโดยจอร์จ ลูคัส[1] แอนิเมชันชุดนี้เริ่มต้นจากการฉาย สตาร์ วอร์ส: สงครามโคลน ในโรงภาพยนตร์เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 2008 ก่อนที่ตัวแอนิเมชันชุดเองจะออกอากาศบน การ์ตูนเน็ตเวิร์ค เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 2008[2] แอนิเมชันชุดนี้ดำเนินเรื่องอยู่ในกาแลกซีสมมติ สตาร์ วอร์ส ช่วงระยะเวลาสามปีระหว่างภาพยนตร์ เอพพิโซด 2 กองทัพโคลนส์จู่โจม และ เอพพิโซด 3 ซิธชำระแค้น แอนิเมชันชุดนี้เป็นการรีบูต สตาร์ วอร์ส: สงครามมนุษย์โคลน (2003–2005) ซึ่งเป็นแอนิเมชันสองมิติที่ออกอากาศไปก่อนหน้านี้ เดอะ โคลน วอร์ส มีความยาวในแต่ละตอนประมาณ 22 นาที เพื่อเติมเต็มช่องว่างครึ่งชั่วโมงของรายการโทรทัศน์ ซึ่งแอนิเมชันชุดก่อนหน้านี้มีความยาวเพียงแค่ 3–15 นาทีต่อตอน เดฟ ฟิโลนีเคยเป็นผู้อำนวยการดูแลของแอนิเมชันชุดนี้[3]
ช่วงต้นปี ค.ศ. 2013 ลูคัสฟิล์มประกาศว่า เดอะ โคลน วอร์ส จะ "ยุติการสร้าง"[4][5] โดยแอนิเมชันสิบสามตอนซึ่งรวมกันเป็นซีซันหกนั้นเปิดให้ชมใน เน็ตฟลิกซ์ เฉพาะในสหรัฐ พร้อมกับแอนิเมชันชุดทั้งหมด เริ่มตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 2014[6] โครงการ เดอะ โคลน วอร์ส เลกาซี เป็นการดัดแปลงเรื่องราวที่ไม่ได้สร้างให้กลายเป็นรูปแบบสื่ออื่น เช่น การ์ตูนและนวนิยาย[7] แอนิเมชันชุดนี้ได้รับการฟื้นฟูสำหรับซีซันเจ็ดซึ่งเป็นซีซันสุดท้ายประกอบด้วยสิบสองตอน ออกอากาศครั้งแรกบน ดิสนีย์+ เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020[8][9][10]
เดอะ โคลน วอร์ส ประสบความสำเร็จอย่างมาก กลายเป็นหนึ่งในรายการที่มีเรตติ้งสูงสุดของการ์ตูนเน็ตเวิร์คในช่วงการออกอากาศครั้งแรก ตลอดระยะเวลาที่ออกอากาศ แอนิเมชันชุดนี้ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากนักวิจารณ์ โดยได้รับการยกย่องในเรื่องบท, ฉากโลดโผน, ตัวละคร, งานด้านภาพ, การพากย์เสียง, สไตล์ศิลปะ, แอนิเมชัน, ดนตรี, ขนาดและโทน แอนิเมชันชุดนี้ยังได้รับความสนใจจากแฟน ๆ จำนวนมาก และยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลอุตสาหกรรมมากมาย รวมถึง รางวัลเดย์ไทม์เอมมีอวอร์ดสและรางวัลแอนนีอวอร์ดส[11][12]
แอนิเมชันชุดที่เกี่ยวข้อง สตาร์ วอร์ส เรเบลส์ ออกอากาศช่วงระหว่างซีซันหกและซีซันเจ็ดของ เดอะ โคลน วอร์ส โดยมีตัวละครจาก เดอะ โคลน วอร์ส ปรากฏตัวใน เรเบลส์ ประกอบด้วยกัปตันเร็กซ์, อาโซกา ทาโนและมอล สตาร์ วอร์ส: ทีมโคตรโคลนมหากาฬ เป็นแอนิเมชันภาคแยกที่มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับทีมโคลนทรูปเปอร์ที่ปรากฏตัวในซีซันเจ็ดของ เดอะ โคลน วอร์ส ออกอากาศเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 2021
ภาพรวมของแอนิเมชันชุด
[แก้]ฉากหลัง
[แก้]เดอะ โคลน วอร์ส ดำเนินเรื่องในช่วงสตาร์ วอรส ไตรภาคต้น โดยดำเนินเรื่องตลอด 3 ปี ระหว่าง เอพพิโซด 2 กองทัพโคลนส์จู่โจม และ เอพพิโซด 3 ซิธชำระแค้น ตัวละครหลักประกอบไปด้วยตัวละครที่มาจากหนังเรื่องก่อนหน้า ประกอบด้วย อนาคิน สกายวอล์คเกอร์, โอบีวัน เคโนบี, แพดเม่ อมิดาลา, โยดา และเมซ วินดู รวมถึงตัวละครใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นสำหรับแอนิเมชันชุดนี้โดยเฉพาะ เช่น พาดาวันของอนาคิน อาโซกา ทาโน และโคลนกัปตันเร็กซ์แห่งกองพันที่ 501
ใจกลางของแอนิเมชันชุดนี้คือความขัดแย้งระหว่างสาธารณรัฐกาแลกติกและสหภาพพิภพอิสระ ซึ่งเป็นขบวนการแบ่งแยกดินแดนที่นำโดยซิธลอร์ด เคานต์ดูกู กลุ่มอัศวินเจไดแห่งสาธารณรัฐได้นำกองทัพโคลนต่อสู้กับดรอยด์ของฝ่ายแบ่งแยกซึ่งนำโดยผู้บัญชาการไซบอร์ก นายพลกรีวัส ดาร์ธ ซิเดียสผู้ลึกลับได้ควบคุมและชักใยทั้งสองฝั่งของสงครามโดยที่ไม่มีใครรู้ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของแผนหลักในการกำจัดเจไดและสร้างรัฐปกครองใหม่ภายใต้การปกครองของเขา ด้วยเหตุผลนี้ แอนิเมชันชุดนี้จึงแสดงถึงการเสื่อมอำนาจอย่างช้า ๆ ของสาธารณรัฐ กลายเป็นจุดเริ่มต้นของจักรวรรดิซึ่งพัลพาทีนจะประกาศอย่างเป็นทางการใน เอพพิโซด 3 ซิธชำระแค้น โดยตัวละครฝ่ายตัวร้ายอื่น ๆ ประกอบด้วยศิษย์ของดูกู อาซาจ เวนเทรส นักล่าเงินรางวัลที่ฉาวโฉ่ว แคทเบน และอดีตซิธลอร์ด ดาร์ธ มอล
แอนิเมชันชุดนี้เริ่มต้นจากการเป็นแอนิเมชันชุดที่รวมเรื่องสั้นต่าง ๆ โดยมีเพียงบางตอนที่เชื่อมโยงกัน แต่ซีซันหลัง ๆ จึงเริ่มมีโครงเรื่องที่ยาวขึ้นและกินเวลาหลายตอน
เรื่องย่อ
[แก้]ซีซัน 1
[แก้]ซีซันที่หนึ่งนั้นดำเนินเรื่องเกี่ยวกับยุทธการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างสาธารณรัฐกาแลกติก และฝ่ายแบ่งแยก (สหภาพพิภพอิสระ) โดยเหล่าเจไดนั้นต้องสู้กับเคานต์ดูกูและนายพลกรีวัส เพื่อโน้มน้าวให้ระบบดาวต่าง ๆ เข้าร่วมกับฝ่ายของพวกเขา โดยในหลาย ๆ ตอนของซีซันนี้จะไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องของข้อพิพาทที่เกิดของกับฝ่ายแบ่งแยกแต่กลับเน้นไปทางแง่มุมต่าง ๆ ของสงครามโคลน[ต้องการอ้างอิง]
ซีซีน 2: Rise of the Bounty Hunters
[แก้]ซีซันที่สองนั้นดำเนินเรื่องเกี่ยวกับความเกี่ยวข้องของตัวละครนักล่าเงินรางวัลในช่วงสงครามโคลน ดาร์ธ ซิเดียสได้ว่าจ้างให้แคด เบนขโมยโฮโลครอนจากวิหารเจได เพื่อให้อนาคตของเด็กผู้มีสัมผัสแห่งพลังทั่วทั้งกาแลกซีตกอยู่ในอันตราย; โรงงานผลิตดรอยด์ของฝ่ายแบ่งแยกดินแดนที่อยู่บนดาวจีโอโนซิสสร้างอาวุธใหม่ที่สามารถพลิกสงครามได้; กรีวัสเพิ่มการโจมตีไปยังกองทัพเรือของฝ่ายสาธารณรัฐและล้อมเหล่าเจได; ฝ่ายก่อการร้ายชาวแมนดาลอร์ เดธวอทช์ ฉวยโอกาสจากการที่ดาวแมนดาลอร์เป็นกลางในสงครามในการโจมตีดัชเชสซาทีน; กระบี่แสงของอาโซกาถูกขโมยไป; และนักฆ่า ออราซิงให้คำปรึกษากับโบบา เฟทท์ในการล้างแค้นต่อเมซ วินดูที่ได้ฆ่าพ่อของโบบาไป
ซีซัน 3: Secrets Revealed
[แก้]ซีซันที่สามนั้นดำเนินเรื่องเกี่ยวกับพัฒนาการของตัวละครต่าง ๆ ในระหว่างที่สงครามดำเนิน อนาคินรับรู้ถึงธรรมชาติของพลังและบทบาทของเขาในการเป็นผู้ที่ถูกเลือก ณ ดินแดนโบราณแห่งพลัง; อาโซกาเริ่มที่จะเป็นตัวของตัวเองและเผชิญหน้าต่ออุปสรรคต่าง ๆ ที่ทดสอบความเป็นอิสระของตนเองในฐานะพาดาวัน; อาซาจ เวนเทรสถูกเคานต์ดูกูหักหลังและปล่อยให้ตาย ทำให้เธอกลับไปหากลุ่มแม่มดไนท์ซิสเตอร์และวางแผนที่จะล้างแค้นดูกู โดยการใช้ไนท์บราเธอร์ซาวาจ โอเพรส; ตอนอื่น ๆ นั้นสำรวจเกี่ยวกับบทบาททางประชาธิปไตยของสภาชิกวุฒิสภาในช่วงสงครามโคลน และผลกระทบต่าง ๆ จากความขัดแย้งที่เกิดขึ้นต่อดาวเคราะห์ต่าง ๆ
ซีซัน 4: Battle Lines
[แก้]ซีซันที่สี่นั้นดำเนินเรื่องเกี่ยวกับความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นของสงครามโคลนผ่านหลาย ๆ ยุทธการตามแนวรบต่าง ๆ กัปตันเร็กซ์และกองพันที่ 501 ต้องขัดขืนคำสั่งที่ตนเองได้รับเพื่อต่อกรกับนายพลเจไดที่แปรพักตร์ พอง เครลล์; โอบีวันปลอมการตายของตัวเองและปกปิดตัวตนเป็นนักล่าเงินรางวัล เพื่อขัดขวางแผนการลักพาตัวสมุหนายกพัลพาทีน; เวนเทรสละทิ้งอดีตของตนและกลายเป็นนักล่าเงินรางวัลหลังจากการที่ฝ่ายแบ่งแยกดินแดนทำการสังการหมู่ไนท์ซิสเตอร์; ซาวาจได้ค้นพบกับพี่ชายที่พลัดพราก ดาร์ธ มอลผู้ซึ่งต้องการล้างแค้นโอบีวันจากเหตุการณ์ที่เขาพ่ายแพ้เมื่อสิบกว่าปีก่อน[ต้องการอ้างอิง]
ซีซัน 5
[แก้]ซีซันที่ห้ามี 5 โครงเรื่องหลัก โครงเรื่องแรกเกี่ยวการที่สาธารณรัฐเข้าช่วยเหลือกลุ่มกบฏบนที่มาจากดาวออนเดอรอน ซึ่งนำโดยสองพี่น้อง สตีลาและ ซอว์ เกอร์เรร่า เพื่อปลดปล่อยดาวของพวกเขาให้เป็นอิสระจากการครอบครองของฝ่ายแบ่งแยกดินแดน โครงเรื่องที่สองเกี่ยวกับกลุ่มของเจไดเด็ก ที่หลังจากจบเส้นทางในการเป็นพาดาวันแล้ว ต้องพิสูจน์ตนเองโดยการช่วยอาโซกาจากโจรสลัด โครงเรื่องที่สามเกี่ยวกับทีมดรอย์ซึ่ง ในระหว่างที่ปฏิบัติภารกิจในการสกัดกั้นข้อความเข้ารหัสของฝ่ายแบ่งแยกดินแดนนั้น ได้พบกับโคลนคอมมานโดซึ่งความจำเสื่อมและต้องช่วยเขาให้ความทรงจำกลับมา เพื่อหนีออกจากดาวที่พวกเขาถูกทอดทิ้งไว้ โครงเรื่องที่สี่เกี่ยวกับการกลับมาของดาร์ธ มอล ซึ่งร่วมกับเดธวอทช์และกลุ่มอาชญากรรมอื่น ๆ เพื่อยึดครองดาวแมนดาลอร์และล้างแค้นโอบีวัน โครงเรื่องสุดท้ายเกี่ยวกับการที่อาโซกาถูกจัดฉากว่าเป็นผู้ลอบวางระเบิดในวิหารเจไดและถูกตัดสินว่าเป็นฆาตกรเลือดเย็น โดยเธอต้องพยายามอย่างหนักเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของเธอ ทำให้เธอตั้งคำถามว่าเธอสามารถเชื่อถือใครได้บ้างและหลบหนีจากสาธารณรัฐ ถึงแม้ว่าอนาคินจะจับผู้กระทำผิดตัวจริงมาได้ แต่ศรัทธาที่เธอมีต่อสภาเจไดก็ถูกสั่นคลอนไปแล้ว ทำให้เธอเลือกที่จะละทิ้งนิกายเจได ทำให้อนาคินเสียใจเป็นอย่างมาก
ซีซัน 6: The Lost Missions
[แก้]ซีซันที่หกมี 4 โครงเรื่องหลัก: โคลนทรูปเปอร์ ไฟวส์ สืบสวนการทำงานก่อนเวลาของคำสั่งที่ 66 ในความรู้สึกนึกคิดของเพื่อนร่วมรบและพบเจอความจริงเกี่ยวกับชิพยับยั้งที่ฝังอยู่ในสมองของโคลนแต่ละคน ก่อนที่สุดท้ายจะถูกฆ่าโดยพัลพาทีนก่อนที่เขาจะสามารถเปิดเผยความจริง; ความพยายามของแพดเม่ในการช่วยเหลือคนรักเก่า รัช โคลวิส เพื่อเปิดเผยถึงการทุจริตของกลุ่มธนาคารระหว่างกาแลกซี ซึ่งก่อให้เกิดความตึงเครียดในความสัมพันธ์ระหว่างเธอกับอนาคิน หลังจากอนาคินรู้ถึงภารกิจลับของเธอและเข้ามาขัดขวาง; จาร์ จาร์ บิ้งคส์และเมซ วินดูเข้าช่วยเหลือราชินีแห่งดาวบาร์ดอตตาที่ถูกจับตัวไป จากน้ำมือของลัทธิซึ่งนำโดยอดีตผู้นำของไนท์ซิสเตอร์ มาเธอร์ทัลซิน; และการออกผจญภัยของโยดาในการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับธรรมชาติของพลัง หลังจากวิญญาณของไควกอน จินน์มาพบเขา
ซีซัน 7: The Final Season
[แก้]ซีซันที่เจ็ดมี 3 โครงเรื่องหลัก โครงเรื่องแรกเกี่ยวกับตัวละครของกัปตันเร็กซ์ในขณะที่เขา อนาคิน และทีมของโคลนที่มีการกลายพันธ์ุ เข้าช่วยเหลือ ทรูปเปอร์หน่วยรบพิเศษที่มีความชำนาญในการรบรอบด้าน เอคโค่ ผู้ถูกเชื่อว่าเสียชีวิตในการปฏิบัติหน้าที่ และสามารถเอาชนะฝ่ายแบ่งแยกดินแดนบนดาวแอนแอกซิสด้วยความช่วยเหลือของเขา โครงเรื่องที่สองเกี่ยวกับอาโซกาที่ได้ตีสนิทกับสองพี่น้อง เทรซและราฟา มาร์เทซ และช่วยเหลือพวกเธอในการชำระหนี้กับกลุ่มอาชญากรรมไพค์ โดยเธอปกปิดการมีสัมผัสแห่งพลังตลอดเวลาที่ช่วยเหลือ ด้วยเหตุที่ว่าพี่น้องคู่นี้เกลียดเจได โครงเรื่องสุดท้ายเป็นโครงเรื่องที่มีการดำเนินเรื่องไปพร้อมกับ เอพพิโซด 3 ซิธชำระแค้น โดยกล่าวถึงการล้อมแมนดาลอร์ซึ่งเป็นยุทธการที่เคยถูกกล่าวถึงในสื่อ สตาร์ วอร์ส ก่อนหน้านี้ อาโซกากลับมาหาสาธารณรัฐอย่างไม่เต็มใจ เพื่อนำทัพร่วมกับกัปตันเร็กซ์และนักรบแมนดาลอเรียน โบ-คาทาน ครีซ เพื่อสู้กับกองกำลังของมอลบนดาวแมนดาลอร์ เมื่ออาโซกาเผชิญหน้ากับมอล มอลได้เล่าให้ฟังถึงลางร้ายเกี่ยวกับอนาคิน อดีตอาจารย์ของอาโซกา และแผนของดาร์ธ ซิเดียสที่กำลังจะสำเร็จ โดยมีอนาคินเป็นศูนย์กลางของแผนนั้น หลังจากที่มอลถูกจับกุม อาโซกานั้นใจจดใจจ่อรอที่จะพูดคุยกับอนาคินถึงเรื่องที่มอลเล่าให้ฟัง แต่ระหว่างที่อยู่ในยานพิฆาตดารา วีเนเตอร์-คลาส ซิเดียสออกคำสั่งที่ 66 ทำให้อาโซกาถูกโคลนทรูปเปอร์ของเธอเองโจมตี เธอสามารถที่จะปลดปล่อยกัปตันเร็กซ์ให้เป็นอิสระได้ และปล่อยมอลออกมาเพื่อเป็นตัวล่อ แต่เขากลับทำให้ยานที่พวกเขาอยู่นั้นใช้การไม่ได้ สุดท้ายพวกเขาสามคนก็หนีออกมาได้ ฉากสุดท้ายของแอนิเมชันชุดนี้นั้นแสดงถึงอนาคินที่ตอนนี้กลายเป็นดาร์ธ เวเดอร์ หากระบี่แสงของอาโซกาท่ามกลางซากของยานในช่วงเวลาหลังจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นพักหนึ่ง และนำกระบี่แสงนั้นกลับไปด้วยอย่างเงียบสงัด
ตอน
[แก้]ปี | Subtitle | จำนวนตอน | วันที่เผยแพร่ | ||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
วันแรก | วันสุดท้าย | เครือข่าย | |||||
ฉบับภาพยนตร์ | สตาร์ วอร์ส: สงครามโคลน (ภาพยนตร์) | — | 15 สิงหาคม ค.ศ. 2008 | โรงภาพยนตร์ | |||
1 | — | 22 | 3 ตุลาคม ค.ศ. 2008 | 20 มีนาคม ค.ศ. 2009 | การ์ตูนเน็ตเวิร์ค | ||
2 | Rise of the Bounty Hunters | 22 | 2 ตุลาคม ค.ศ. 2009 | 30 เมษายน ค.ศ. 2010 | |||
3 | Secrets Revealed | 22 | 17 กันยายน ค.ศ. 2010 | 1 เมษายน ค.ศ. 2011 | |||
4 | Battle Lines | 22 | 16 กันยายน ค.ศ. 2011 | 16 มีนาคม ค.ศ. 2012 | |||
5 | — | 20 | 29 กันยายน ค.ศ. 2012 | 2 มีนาคม ค.ศ. 2013 | |||
6 | The Lost Missions | 13 | 7 มีนาคม ค.ศ. 2014 | เน็ตฟลิกซ์ | |||
7 | The Final Season | 12 | 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020 | 4 พฤษภาคม ค.ศ. 2020 | ดิสนีย์+ |
แอนิเมชันชุดนี้เริ่มต้นจากภาพยนตร์แอนิเมชัน สตาร์ วอร์ส: สงครามโคลน (ภาพยนตร์) โดยการตัดสินใจนี้เกิดขึ้นหลังจากที่ทีมผู้ผลิตได้รับชมฟุตเทจที่เสร็จสมบูรณ์ของตอนแรก ๆ หลายตอนสำหรับแอนิเมชันชุดทางโทรทัศน์ที่วางแผนไว้ ซึ่งท้ายที่สุดก็รวมเป็นภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องเดียว[13] วอร์เนอร์ บราเดอร์ส พิกเจอร์สจัดจำหน่ายภาพยนตร์เรื่องนี้ ในขณะที่ตอนต่อ ๆ มาออกอากาศแยกกันทางการ์ตูนเน็ตเวิร์ค[14] สำหรับภาพยนตร์เรื่องนี้ คริสโตเฟอร์ ลี, แอนโทนี แดเนียลส์, ซามูเอล แอล. แจ็กสัน และแมทธิว วูด กลับมารับบทเคานต์ดูกู, ซีทรีพีโอ, เมซ วินดู และบี 1 แบทเทิลดรอยด์ จากภาพยนตร์คนแสดงตามลำดับ โดยไม่นับลีและแจ็กสันที่ไม่ได้กลับมารับบทในละครโทรทัศน์
เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 2011 มีการปล่อยตอนยาวแบบที่ตัดต่อรวบรวมกลุ่มตอน (ประกอบไปด้วย "Nightsisters", "Monster" และ "Witches of the Mist") ซึ่งเป็นหนึ่งในสามไตรภาคของซีซีนที่ 3 เข้าด้วยกัน โดยได้มีการปล่อยให้ดาวน์โหลดผ่านไอทูนส์ในรูปแบบของภาพยนตร์ต่อเนื่อง[15] ซึ่งก่อนหน้านี้ฉายในแบบเฉพาะกลุ่มที่เลือกในปี ค.ศ. 2010 สามตอนนี้เขียนโดยเคที ลูคัสซึ่งเคยเขียนบทซีซันที่ 1 ตอน "Jedi Crash" รวมถึงซีซันที่ 3 ตอน "Sphere of Influence" และ "Assassin" นอกจากนี้ยังมีการออกอากาศซ้ำของซีซัน 1 ในรูปแบบตอน "ถอดรหัส" โดยแต่ละตอนมีหน้าต่างข้อความที่ไม่รบกวนสายตา ซึ่งให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับตัวละครและเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นบนหน้าจอ[16]
แอนิเมชันชุดนี้ถูกยกเลิกไปในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2013 หลังจากจบซีซันที่ 5 ไปแล้ว ซึ่งเป็นผลมาจากการเข้าซื้อกิจการลูคัสฟิล์มของบริษัทเดอะวอลต์ดิสนีย์และการตัดสินใจ "ก้าวไปสู่ทิศทางใหม่ในการเขียนโปรแกรมแอนิเมชัน"[17] ทิศทางใหม่นี้ซึ่งเรียกว่า "แอนิเมชันชุด สตาร์ วอร์ส เรื่องใหม่ทั้งหมดที่มีฉากในช่วงเวลาที่ไม่เคยมีใครแตะต้องมาก่อนในภาพยนตร์ สตาร์ วอร์ส หรือรายการโทรทัศน์" จึงทำให้เกิดสตาร์ วอร์ส เรเบลส์ ซึ่งเป็นแอนิเมชันชุดที่ออกอากาศทางดิสนีย์เอ็กซ์ดี แทนที่จะเป็นการ์ตูนเน็ตเวิร์ค ในช่วงเวลาของการประกาศลูคัสฟิล์มยังบอกใบ้อีกว่าแม้ว่าพวกเขาไม่ได้ผลิตตอนของ เดอะ โคลน วอร์ส สำหรับการ์ตูนเน็ตเวิร์คอีกต่อไป แต่พวกเขากำลังสร้างเนื้อเรื่องเพิ่มเติมที่จะปรากฏที่อื่น[17] ซีซันที่ 6 เผยแพร่บนเน็ตฟลิกซ์ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 2014 พร้อมด้วยสื่อเพิ่มเติม เช่น หนังสือการ์ตูนและนวนิยาย โดยอิงจากโครงเรื่องที่ยังสร้างไม่เสร็จซึ่งเคยมีแผนที่จะรวมอยู่ในซีซันนี้
เพื่อเป็นเฉลิมฉลองการเผยแพร่ครบทั้งแอนิเมชันชุดทางเน็ตฟลิกซ์ ในวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 2014 เว็บไซต์ StarWars.com จึงได้เผยแพร่ลำดับตอนอย่างเป็นทางการสำหรับหกซีซันแรก ซึ่งได้รับการอัปเดตในภายหลังเพื่อรวมลิงก์ไปยังตอนต่าง ๆ บนดิสนีย์+[18]
สี่ปีต่อมา ลูคัสฟิล์มได้ประกาศที่งานซาน ดิเอโก คอมิกคอน ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2018 ว่า เดอะ โคลน วอร์ส จะกลับมาพร้อมตอนใหม่ 12 ตอนในซีซันที่ 7 ที่จะออกฉายบนดิสนีย์+[9] ตัวอย่างสำหรับซีซันนี้เผยแพร่เมื่อวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 2019 ที่งาน Star Wars Celebration Chicago เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 2019 เดฟ ฟิโลนีซึ่งเป็นผู้สร้างแอนิเมชันชุดนี้ได้ประกาศที่งาน D23 Expo ว่าจะเป็นซีซันสุดท้าย[8][10]
นักแสดงและตัวละคร
[แก้]ตัวละครหลัก
[แก้]- แมตต์ แลนเทอร์ เป็น อนาคิน สกายวอล์คเกอร์, ลอม ไพก์, เสียงอื่น ๆ
- เจมส์ อาร์โนลด์ เทย์เลอร์ เป็น โอบีวัน เคโนบี, โพล คูน, โอซี โซเบ็ก, เสียงอื่น ๆ
- แอชลีย์ เอกสไตน์ เป็น อาโซกา ทาโน, เสียงอื่น ๆ
- ดี แบรดลีย์ เบเกอร์ เป็น กัปตันเร็กซ์, โคลนทรูปเปอร์ทั้งหมด, เซซี ทีน, โอนาคอนดา ฟาร์, บอสสก์, พลเรือเอกเทรนจ์, เสียงอื่น ๆ
- แมทธิว วูด เป็น นายพลกรีวัส, แบทเทิลดรอยด์, วัท แทมบอร์, พอกเกิล เดอะ เลสเซอร์, เสียงอื่น ๆ
- ทอม เคน เป็น ผู้บรรยายเรื่อง, โยดา, พลเรือเอกวูฟ ยูราเรน, เสียงอื่น ๆ
- เคเธอรีน เทเบอร์ เป็น แพดเม่ อมิดาลา, เสียงอื่น ๆ
- เทอร์เรนซ์ ซี. คาร์สัน เป็น เมซ วินดู, เสียงอื่น ๆ
- เอียน เอเบอร์ครอมบี (ซีซัน 1-6) / ทิม เคอร์รี[19] (ซีซัน 5-6) / เอียน แม็คเดียร์มิด (ซีซัน 7) เป็น สมุหนายกพัลพาทีน / ดาร์ธ ซิเดียส
- โครีย์ เบอร์ทัน เป็น เคานต์ดูกู / ดาร์ธ ไทรานัส, แคท เบน, ซีโร เดอะ ฮัทท์, เสียงอื่น ๆ
- นิกา ฟัตเทอร์แมน เป็น อาซาจ เวนเทรส, เสียงอื่น ๆ
- แอนโทนี แดเนียลส์ เป็น ซีทรีพีโอ
- ฟิล ลามาร์ เป็น เบล ออร์กานา, คิท ฟิสโต, ออร์น ฟรี ทา, เสียงอื่น ๆ
- อาเมด เบสท์ (ซีซัน 1-6) / ฟิล ลามาร์ (ในเครดิตชื่อ บี.เจ. ฮิวจส์) (ซีซัน 1) เป็น จาร์ จาร์ บิงคส์
- จิม คัมมิงส์ เป็น ฮอนโด โอนากา, เสียงอื่น ๆ
- บาร์บารา กูดซัน เป็น มาเธอร์ทัลซิน
- แคลนซี บราวน์ เป็น ซาวาจ โอเพรส, เสียงอื่น ๆ
- สตีเฟน สแตนตัน เป็น เมส อาเมดดา, ทาร์คิน, เสียงอื่น ๆ
- จอน แฟฟโรว์ เป็น พรี วิสลา
- เคที แซ็คฮอฟฟ์ เป็น โบ-คาทาน ครีซ
- แซม วิทเวอร์ เป็น ดาร์ธ มอล, พระบุตร, เสียงอื่น ๆ
ตัวละครสมทบ
[แก้]- เกร็ก บาลด์วิน เป็น กวาร์ม, เทรา ซินูบี, เสียงอื่น ๆ
- โอลิเวีย ดี'อาโบ เป็น ลูมินารา อันดูลี
- เบน ดิสกิน เป็น แว็ก-47, เอซี-3, เสียงอื่น ๆ
- โรบิน แอทคิน ดาวนส์ เป็น รัช โคลวิส, ชาม ซินดูลลา, เสียงอื่น ๆ
- กิเดียน เอเมอรี เป็น ลอทท์ ดอด, มี ดีชี, เสียงอื่น ๆ
- เดฟ ฟิโลนี เป็น เอ็มโบ, เสียงอื่น ๆ
- แอนนา เกรฟส์ เป็น ดัชเชสซาทีน ครีซ, ซูกี, มีนา ทิลส์, เสียงอื่น ๆ
- เจนนิเฟอร์ เฮล เป็น เอย์ลา เซเคอรา, ไรโย ชูชี
- จูเลียน ฮอลโลเวย์ เป็น อัลเมค, พลเรือเอกโชอัน คิวเรียน
- ทอม เคนนี เป็น นูท กันเรย์, ร้อยโทแทน ดีโว, กรีโด, เสียงอื่น ๆ
- ไจอามี คิง เป็น ออรา ซิง, เสียงอื่น ๆ
- แดเนียล โลแกน เป็น โบบา เฟทท์, โคลนนายร้อย
- เจมส์ ซี. แมธิส ที่สาม เป็น เกรการ์ ไทโฟ
- เจมีลาห์ แม็คมิลแลน เป็น เฮลล์ เบอร์โทนี, ราชินีนียัทนี
- แองเจลิค เพอร์ริน เป็น อาดี แกลเลีย, เสียงอื่น ๆ
- เควิน ไมเคิล ริชาร์ดสัน เป็น แจบบา เดอะ ฮัทท์
- เมเรดิธ ซาเลนเจอร์ เป็น แบริส ออฟฟี, เสียงอื่น ๆ
- เจสัน สปีแซก เป็น ลักซ์ บอนเทรี, เสียงอื่น ๆ
- เทเชีย วาเลนซา เป็น แชก ที
- เกวนโดลิน ยีโอ เป็น นาลา เซ, เสียงอื่น ๆ
นักแสดงรับเชิญ
[แก้]- เพอร์นิลลา ออกัส เป็น ฉมี สกายวอล์คเกอร์
- บ็อบ เบอร์เก็น เป็น ลามา ซู
- อาร์ท บัทเลอร์ เป็น กัปตันแอ็คบาร์
- โฟล ดี เร เป็น โจคัสตา นู
- เดฟ เฟนนอย เป็น พอง เครลล์
- มาร์ค แฮมิลล์ เป็น ดาร์ธ เบน
- แอนดรูว์ คิชิโน เป็น ซอว์ เกอร์เรร่า
- เลียม นีสัน เป็น ไควกอน จินน์
- ไซมอน เพกก์ เป็น เด็งการ์
- แคธ ซูชี เป็น มอน มอธมา
- จอร์จ เทเค เป็น ล็อก เดิร์ด
- เดวิด เทนนันต์ เป็น ฮูแยง
- เซธ กรีน เป็น โทโด 360
- แกรี แอนโทนีย์ วิลเลียมส์ เป็น ริฟฟ์ แทมสัน
- อดัม แม็คอาเธอร์ เป็น เจ้าชายลี-ชาร์
- ลอยด์ เชอร์ เป็น พระบิดา
- เคิร์ก ธอร์นตัน เป็น ราชาซันเจย์ แรช
- แบรี เดนเนน เป็น ราชาแรมซิส เดนดัป
- พอล นากาอูจิ เป็น ไซโฟดิแอส
- รอน เพิร์ลแมน เป็น กา นัค
- วิท เฮิร์ทฟอร์ด เป็น นายร้อยคอร์กี ครีซ
- เกร็ก พรูพส์ เป็น ทาล เมอร์ริก
- ไมเคิล ยอร์ก เป็น ดร. นูโว วินดี
- แคม คลาร์ก เป็น โอเมอร์
- เดวิด เคย์ เป็น นายพลแทนดิน
- เรย์ สตีเวนสัน เป็น การ์ แซกซัน
- คารี วอลเกรน เป็น เลททา เทอร์มอนด์
- จอร์จ โค เป็น ที วัตต์ คา
- วิกเตอร์ แบรนดท์ เป็น ผู้ดูแลอากรัสส์
- เกร็ก เอลลิส เป็น เทิร์ก ฟอลโซ
- วาเนสซา มาร์แชล เป็น รูก แคสท์
- อัล โรดริโก เป็น ควินแลน วอส
- นิก เจมสัน เป็น ดาร์ทส์ ดี'นาร์
- บ็อบบี มอยนิแฮน เป็น พินตู ซัน-เอล
- คริส เอดเจอร์ลี เป็น อีท คอธ
- เจมส์ คอฟแมน เป็น เจย์โบ ฮูด
- เควิน ธอมส์ เป็น ดาร์
การผลิต
[แก้]ในงาน Star Wars Celebration ครั้งที่ 3 ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2005 จอร์จ ลูคัสประกาศว่า "เรากำลังสร้างแอนิเมชันชุดสามมิติต่อเนื่องจากแอนิเมชันชุดนำร่องที่เคยฉายบนการ์ตูนเน็ตเวิร์ค เราไม่น่าจะเริ่มโปรเจ็กต์นั้นไปอีกปีหนึ่ง"[20] ลูคัสจ้างเดฟ ฟิโลนีหลังจากที่ได้ดูตอนต่าง ๆ ของ เณรน้อยเจ้าอภินิหาร ที่เขาเคยทำมา[21][b] ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2005 พรีโปรดักชันของแอนิเมชันชุดนี้ได้เริ่มต้นขึ้น ตามที่ สตีฟ แซนสวีท หัวหน้าของฝ่ายประชาสัมพันธ์กล่าวไว้[22] แซนสวีทเรียกแอนิเมชันชุดนี้ว่า "เจเนอเรชันถัดไปของ สตาร์ วอร์ส ซึ่งเป็นแอนิเมชันชุดคอมพิวเตอร์แอนิเมชัน 3 มิติที่ทันสมัย ความยาว 30 นาที ที่สร้างจากสงครามโคลนที่เกิดขึ้นระหว่างเอพพิโซด 2 ... และเอพพิโซด 3" เขาอธิบายถึงรูปลักษณ์ของแอนิเมชันชุดใหม่นี้ว่า "เป็นการผสมผสานระหว่างอนิเมะเอเชียเข้ากับสไตล์แอนิเมชัน 3 มิติอันเป็นเอกลักษณ์" การผลิตขั้นแรกเกิดขึ้นที่ลูคัสฟิล์มแอนิเมชันในสิงคโปร์[23]
ตามคำแถลงอีกชุดของแซนสวีท "ลูคัสฟิล์มแอนิเมชันจะจ้างศิลปินดิจิทัลทั้งหมดประมาณ 300 คนและศิลปินอื่น ๆ ทั้งในรัฐแคลิฟอร์เนียและประเทศสิงคโปร์ และกำลังทำงานร่วมกับแอนิเมเตอร์ของการ์ตูนเน็ตเวิร์ค เพื่อผลิตไม่เพียงแต่แอนิเมชันชุดนี้เท่านั้น แต่ยังรวมถึงภาพยนตร์แอนิเมชันในปีต่อ ๆ ไป " เขากล่าวเกี่ยวกับแอนิเมชันชุดนี้ว่า "เพื่อให้แอนิเมชันชุดนี้เดินหน้า ลูคัสแอนิเมชันได้จ้างทีมโปรดักชันหลักและผู้มีพรสวรรค์ด้านความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเป็นผู้นำในการพัฒนาโปรเจ็คแอนิเมชั่นเรื่องแรก" แซนสวีทกล่าวว่า "องค์ประกอบสำคัญในอนาคตของ สตาร์ วอร์ส และลูคัสฟิล์มคือแอนิเมชันซีจีไอ"[ต้องการอ้างอิง] ลูคัสฟิล์มแอนิเมชันใช้ซอฟต์แวร์ออโตเดสก์ เพื่อสร้างทั้งภาพยนตร์แอนิเมชันและแอนิเมชันชุด โปรแกรมสร้างแบบจำลอง 3 มิติของมายาถูกนำมาใช้เพื่อสร้างโลก ตัวละคร และสิ่งมีชีวิตที่มีรายละเอียดสูง[24]
ผู้ออกแบบตัวละคร คิเลียน พลันเก็ตต์อ้างอิงการออกแบบตัวละครจากแอนิเมชันชุด สงครามโคลน ต้นฉบับปี ค.ศ. 2003 ของเกนดี ทาร์ทาคอฟสกี[25] และนักสร้างแอนิเมชันได้ตรวจสอบการออกแบบจากแอนิเมชันชุดสองมิติระหว่างที่สร้างสไตล์แอนิเมชัน[26]
ในปี ค.ศ. 2007 ร็อบ โคลแมนเปิดเผยว่าตอนหนึ่งเสร็จสมบูรณ์แล้ว โดยมีอีก 15 ตอนอยู่ระหว่างการผลิตและเขาจะกำกับ 5 ตอนจาก 22 ตอนแรก เขาเปิดเผยว่าการตอบรับจากผู้รับใบอนุญาตเป็นไปในเชิงบวกอย่างมาก และการประชุมครั้งสุดท้ายได้จัดขึ้นที่ Skywalker Ranch[27] ในงาน PaleyFest เมื่อวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 2007 ลูคัสเปิดเผยว่าแอนิเมชันชุดนี้จะเป็นแบบตอน และด้วยเหตุนี้จึงไม่เน้นไปที่เรื่องราวของอนาคิน สกายวอล์คเกอร์ โดยมีตอนที่มอบให้กับโคลนทรูปเปอร์และตัวละครอื่น ๆ[28] ลูคัสเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมในการให้สัมภาษณ์กับแฟน ๆ[29] ประกอบด้วยตัวละครใหม่ชื่ออาโซกา ทาโน จำนวนตอนที่มีมากกว่า 100 ตอน และการปรากฏตัวที่เป็นไปได้ของโบบา เฟทท์ ตัวอย่างแรกของแอนิเมชันชุดนี้เผยแพร่บนเว็บไซต์ทางการของ สตาร์ วอร์ส เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 2007[30] ในการให้สัมภาษณ์ใน ทีวีไกด์ ฉบับวันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 2007 ลูคัสยืนยันว่าจำนวนตอน 39 ตอนของแอนิเมชันชุดนี้เสร็จสมบูรณ์แล้ว[31]
เมื่อวันที่ 8 เมษายน ค.ศ. 2007 Ain't It Cool News รายงานว่านักดนตรี อีริค ริกเลอร์ได้บันทึกเพลงสำหรับแอนิเมชันชุดนี้[32] ริกเลอร์เปิดเผยว่าดาวเคราะห์แต่ละดวงในกาแล็กซี สตาร์ วอร์ส จะมีเพลงประกอบเป็นของตัวเอง ตอนที่ริกเลอร์เล่นนั้นมีพื้นฐานมาจากดนตรีบัลแกเรียและเล่นบนไปป์อิวเลียน เควิน ไคเนอร์แต่งเพลงประกอบสำหรับแต่ละตอน
สจวร์ต สไนเดอร์ ผู้ดูแลการ์ตูนเน็ตเวิร์คและเครือข่ายเคเบิลเทิร์นเนอร์ บรอดคาสติ้ง ซิสเต็ม ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2007 ถึง ค.ศ. 2014 กล่าวว่าเขาเริ่มสนใจแอนิเมชันชุด เดอะ โคลน วอร์ส เรื่องใหม่ทันทีที่เริ่มงานในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2007 สไนเดอร์บินไปซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย เพื่อคัดกรองตอนหลายตอนและบอกลูคัสว่าที่เดียวที่เขาอยากดูรายการนี้คือทางการ์ตูนเน็ตเวิร์ค สไนเดอร์ต้องการสร้างรายการโลดโผน/ผจญภัยในคืนวันศุกร์ เพื่อพยายามทำให้การ์ตูนเน็ตเวิร์คกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง สไนเดอร์แสดงความมั่นใจว่ารายการจะช่วยเพิ่มเรตติ้งได้: "คุณตามทันฉันในช่วงเวลาที่ฉันยิ้มได้เพราะผลลัพธ์ภายในของเรา ฉันสามารถพูดได้ว่าไตรมาสที่สามจะมีเรื่องคุยโวเล็กน้อยสำหรับเรา"[33]
ลูคัสตัดสินใจว่าจะนำโครงเรื่องของ "Young Padawans" ออกจากซีซัน 5 และออกอากาศแยกต่างหากจาก เดอะ โคลน วอร์ส ในรูปแบบของแอนิเมชันชุดภาคแยกซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นจริง ภาพยนตร์นำร่องฉายในงาน Star Wars Celebration[34] ซีซันที่ 6, 7 และ 8 ล้วนอยู่ในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งของการผลิตในช่วงเวลาของการยกเลิกแอนิเมชันชุดนี้ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2013 ไม่นานหลังจากที่ดิสนีย์ซื้อลูคัสฟิล์มไป[7][35]
การเผยแพร่
[แก้]มีการเผยแพร่การ์ตูนออนไลน์ควบคู่ไปกับแอนิเมชันชุดนี้ เพื่อเล่าเรื่องราวเล็ก ๆ น้อย ๆ ระหว่างตอนต่าง ๆ[36]
การออกอากาศ
[แก้]เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 2008 มีการฉายตัวอย่าง เดอะ โคลน วอร์ส ทางการ์ตูนเน็ตเวิร์ค[ต้องการอ้างอิง] แอนิเมชันชุดนี้ออกอากาศตอนแรกในวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 2008 เวลา 21.00 น. ตามเวลาสหรัฐอเมริกา ทางการ์ตูนเน็ตเวิร์ค โดยฉายในอัตราส่วนภาพ 16:9 (1.77:1) โดยตัดจากอัตราส่วนภาพดั้งเดิม ที่ 2.35:1 (ดังที่เห็นในการฉายภาพยนตร์ UK Sky Premiere) รายการนี้เริ่มออกอากาศในช่วงบล็อก Adult Swim (ช่องที่มีผู้ชมหลักเป็นผู้ใหญ่) ในวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 2009 ทำให้แอนิเมชันชุดนี้เป็นแอนิเมชันชุดบนการ์ตูนเน็ตเวิร์คเรื่องแรกที่ออกอากาศพร้อมกันทั้งบนการ์ตูนเน็ตเวิร์คและ Adult Swim แอนิเมชันชุดนี้ยังออกอากาศตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม ถึง 26 มีนาคม ค.ศ. 2009 ทางช่อง TNT ทำให้เป็นแอนิเมชันรูปแบบแรกที่ออกอากาศทางช่องนั้นในรอบกว่าทศวรรษ[37]
รายการนี้เข้าสู่การเผยแพร่นอกเครือข่าย (Off-network Syndication) ในปี ค.ศ. 2012 และในฤดูใบไม้ร่วงของปีนั้น Trifecta Entertainment & Media ได้นำรายการดังกล่าวเข้าสู่การเผยแพร่แบบมีข้อแลกเปลี่ยน (Barter Syndication) ในช่วงสุดสัปดาห์ รายการนี้ออกอากาศทางบริษัทในเครือหลายแห่งของ Independent Stations รวมถึงบริษัทในเครือของ Fox MyNetworkTV และเดอะซีดับเบิลยู (บริการ CW Plus ของเครือข่ายนี้ยังดำเนินรายการนี้อีกด้วย โดยเป็นส่วนหนึ่งของกำหนดการระดับประเทศ) รายการนี้ถูกนำออกจากการออกอากาศในการเผยแพร่นอกเครือข่ายตั้งแต่ฤดูใบไม้ร่วงปี ค.ศ. 2013 เนื่องจากมีต้นทุนต่ำและไม่มีการต่ออายุสำหรับซีซัน 2 ในซีซันทีวีปี ค.ศ. 2013-2014 เนื่องจากดิสนีย์เข้าซื้อกิจการลูคัสฟิล์มเสร็จสมบูรณ์ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2012
เมื่อวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 2013 มีการประกาศว่า เดอะ โคลน วอร์ส จะ "ปิดฉาก" เพื่อมุ่งเน้นไปที่ สตาร์ วอร์ส ไตรภาคต่อ และแอนิเมชันชุดใหม่ สตาร์ วอร์ส เรเบลส์ เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2014 เน็ตฟลิกซ์ประกาศว่าทางเน็ตฟลิกซ์จะเริ่มจำหน่ายแอนิเมชันชุดทางโทรทัศน์ทั้งเรื่องในสหรัฐอเมริกา เริ่มตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 2014 เป็นต้นไป รวมถึงผลงานการตัดต่อของผู้กำกับที่ยังไม่ได้เผยแพร่ก่อนหน้านี้ และซีซันใหม่ที่ยังไม่ได้ออกอากาศก่อนหน้านี้ในชื่อ "The Lost Missions"[6][38] แอนิเมชันชุดนี้ยังมีวางจำหน่ายในร้านวิดีโอดิจิทัล เช่น ไอทูนส์ ในช่วงกลางปี ค.ศ. 2014 แอนิเมชันชุดนี้ฉบับเน็ตฟลิกซ์รวมถึงฉบับบลูเรย์ มีการเพิ่มเวอร์ชันของบางตอนที่มีเนื้อหาที่ถูกเซ็นเซอร์ก่อนหน้านี้ การแก้ไขที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดอย่างหนึ่งคือการถอดตัวละครเวนเทรสที่กำลังจูบโคลนหลังจากที่เธอแทงด้วยกระบี่แสงออกไป[39]
รายการนี้ถูกลบออกจากเน็ตฟลิกซ์ เมื่อวันที่ 7 เมษายน ค.ศ. 2019 โดยสำหรับซีซันสุดท้ายนั้น[8] ตอนที่เหลือของซีซันนี้มีให้ชมเฉพาะบนดิสนีย์+ เท่านั้น[9][40] ตอนแรกของซีซัน 7 เปิดตัวเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020 โดยตอนสุดท้ายจะออกในวันที่ 4 พฤษภาคมของปีเดียวกัน[41]
โฮมมีเดีย
[แก้]ชื่อ ดีวีดี/บลูเรย์ | ภูมิภาค 1 | ภูมิภาค 2 | ภูมิภาค 4 |
---|---|---|---|
A Galaxy Divided (ดีวีดี เท่านั้น) | 24 มีนาคม ค.ศ. 2009 | 24 มีนาคม ค.ศ. 2009 | 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2009 |
Clone Commandos (ดีวีดี เท่านั้น) | 15 กันยายน ค.ศ. 2009 | 15 กันยายน ค.ศ. 2009 | 23 กันยายน ค.ศ. 2009 |
ซีซัน 1 (ดีวีดี และบลูเรย์) | 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 2009[42] | 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 2009 | 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 2009 |
Senate Murders (ดีวีดี เท่านั้น) | 19 มีนาคม ค.ศ. 2010 | 13 มีนาคม ค.ศ. 2010 | 25 มีนาคม ค.ศ. 2010 |
ซีซัน 2 (ดีวีดี และบลูเรย์) | 26 ตุลาคม ค.ศ. 2010[43] | 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2010 | 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 2010 |
Heroes on Both Sides (ดีวีดี เท่านั้น) | 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 2010 | 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 2010 | 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 2010 |
Pursuit of Peace (ดีวีดี เท่านั้น) | 3 ธันวาคม ค.ศ. 2010 | 4 ธันวาคม ค.ศ. 2010 | 5 ธันวาคม ค.ศ. 2010 |
ซีซัน 3 (ดีวีดี และบลูเรย์) | 18 ตุลาคม ค.ศ. 2011[44] | 17 ตุลาคม ค.ศ. 2011 | 19 ตุลาคม ค.ศ. 2011 |
Darth Maul Returns (ดีวีดี เท่านั้น) | 11 กันยายน ค.ศ. 2012[45] | ไม่มีข้อมูล | ไม่มีข้อมูล |
ซีซัน 4 (ดีวีดี และบลูเรย์) | 23 ตุลาคม ค.ศ. 2012[46] | 22 ตุลาคม ค.ศ. 2012[47] | 31 ตุลาคม ค.ศ. 2012[48] |
ซีซัน 5 (ดีวีดี และบลูเรย์) | 15 ตุลาคม ค.ศ. 2013[49] | 14 ตุลาคม ค.ศ. 2013 | 30 ตุลาคม ค.ศ. 2013 |
ชุดซีซัน 1–5 (ดีวีดี และบลูเรย์) | 15 ตุลาคม ค.ศ. 2013[49] | 14 ตุลาคม ค.ศ. 2013 | 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013 |
ซีซัน 6 (ดีวีดี และบลูเรย์) | 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 2014 | 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 2014[50] | 29 เมษายน ค.ศ. 2015[51] |
วอร์เนอร์บราเธอร์ส โฮมเอนเตอร์เทนเมนต์จัดจำหน่ายวิดีโอดิสก์สำหรับ 5 ซีซันแรก ในขณะที่วอลท์ดิสนีย์สตูดิโอ โฮมเอ็นเตอร์เทนเมนต์เป็นผู้จัดจำหน่ายวิดีโอดิสก์ของซีซัน 6 ในชื่อ Star Wars: The Clone Wars – The Lost Missions
นอกเหนือจากชุดวิดีโอดิสก์รายซีซันแล้ว ยังมีดีวีดีชุดพิเศษสามชุดซึ่งแต่ละชุดประกอบด้วย สี่ตอนจากซีซันใดซีซันหนึ่งซึ่งสะท้อนถึงโครงเรื่องหรือธีมบางอย่าง:
- A Galaxy Divided ซึ่งเป็นดีวีดีชุดแรกของแอนิเมชันชุดนี้ โดยมีสี่ตอนในซีซัน 1 ("Ambush", "Shadow of Malevolence", "Destroy Malevolence", "Downfall of a Droid")
- Clone Commandos ชุดดีวีดีอีกชุดหนึ่งซึ่งมีตอนที่ 5 "Rookies" และตอนที่ 19 ถึง 21 ("Storm over Ryloth", "Innocents of Ryloth" และ "Liberty on Ryloth")
- Senate Murders ดีวีดีจากซีซัน 2 ตอน Senate Murders
- Heroes on Both Sides ดีวีดีจากซีซัน 3 ตอน Heroes on Both Sides
- Pursuit of Peace ดีวีดีจากซีซัน 3 ตอน Pursuit of Peace
- Darth Maul Returns ซึ่งเป็นผลงานการตัดต่อของผู้กำกับในรูปแบบตอนยาวที่เป็นตัดต่อรวมกันของตอนจากซีซัน 4 "Massacre", "Bounty", "Brothers" และ "Revenge" และมีจำหน่ายเฉพาะที่ทาร์เก็ตเท่านั้นในตอนแรก[52]
การตอบรับ
[แก้]การวิพากษ์วิจารณ์
[แก้]ซีซัน | รอตเทนโทเมโทส์ | เมทาคริติก |
---|---|---|
ฉบับภาพยนตร์ | 18% (171 บทความ)[53] | 35 (30 บทความ) [54] |
1 | 69% (16 บทความ)[55] | 64 (9 บทความ)[56] |
2 | TBD[57] | TBD[58] |
3 | 100% (5 บทความ)[59] | TBD[60] |
4 | TBD[61] | TBD[62] |
5 | 100% (5 บทความ)[63] | TBD[64] |
6 | 100% (12 บทความ)[65] | TBD[66] |
7 | 100% (36 บทความ)[67] | TBD[68] |
สตาร์ วอร์ส: เดอะ โคลน วอร์ส ฉบับภาพยนตร์ที่ทำหน้าที่เป็นรอบปฐมทัศน์ของแอนิเมชันชุดนี้นั้นถูกวิจารณ์ทางด้านลบโดยนักวิจารณ์[55] สตาร์ วอร์ส: เดอะ โคลน วอร์ส ฉบับแอนิเมชันชุดเริ่มต้นด้วยการวิจารณ์เชิงบวกโดยทั่วไปในตอนแรกและเมื่อเวลาผ่านไป แอนิเมชันชุดนี้ได้รับเสียงสรรเสริญจากบท ความลึกซึ้งทางอารมณ์ การขยายเรื่องราวในจักรวาล และการพากษ์ ในวันที่ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 2008 นักวิจารณ์ละครโทรทัศน์ได้รับชมตอนที่เสร็จสมบูรณ์แล้วตอนหนึ่งของแอนิเมชันชุดนี้ โดยเดอะ ฮอลลีวูด รีพอร์เตอร์กล่าวว่า "น่าจะเป็นแอนิเมชันชุดทางโทรทัศน์ที่มีภาพถ่ายสมจริงมากที่สุดเท่าที่เคยผลิตมา"[69]
ซีซัน 1
[แก้]บนเว็บไซต์รอตเทนโทเมโทส์นั้น ซีซันแรกได้รับคะแนนความนิยม 69% ยึดจากบทวิจารณ์จากนักวิจารณ์ 16 บทความ โดยมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 5.70/10 ความเห็นร่วมกันของนักวิจารณ์บนเว็บไซต์นั้นระบุไว้ว่า "ด้วยความบันเทิงในซีซันแรก สตาร์ วอร์ส: เดอะ โคลน วอร์ส เปิดบทที่สนุกและเหมาะสำหรับเด็ก ในตำนานของแฟรนไชส์ที่กว้างใหญ่"[57] สำหรับเมทาคริติก ซีซันแรกมีคะแนนเฉลี่ยเมื่อถ่วงน้ำหนักแล้วอยู่ที่ 64 จาก 100 ยึดตามบทวิจารณ์จากนักวิจารณ์ 9 รายการซึ่งระบุว่า "บทวิจารณ์โดยทั่วไปเป็นที่ชื่นชอบ"
นิตยสารเสลตให้คำวิจารณ์เชิงบวกแก่ซีซันนี้และกล่าวว่า "แอนิเมชันชุดใหม่นี้มีความปรารถนาที่จะไปถึงระดับของเกมเสมือนจริง ทั้งที่มาของเสน่ห์ทางภาพที่ยอดเยี่ยมและเป็นกุญแจเบิกทางสู่ความว่างเปล่า ซึ่งน่าเบื่อเกินกว่าจะทนได้"[70]
มอรีน ไรอันจาก Chicago Tribune ยกย่องความซับซ้อนในระดับที่ "พอรับได้" ของซีซันนี้ แต่วิพากษ์วิจารณ์โครงเรื่องแบบ "ไบแซนไทน์" และขาดความมีมิติของตัวละคร โดยเรียกผลที่ตามมาว่า "น่ารำคาญหรือน่าเบื่อ"[71]
ในปี ค.ศ. 2009 ไอจีเอ็นยกให้ เดอะ โคลน วอร์ส เป็นแอนิเมชันชุดที่ดีที่สุดอันดับที่ 89[72][73] โดยยกย่องเป็นพิเศษว่าตอน "Rookies", "Cloak of Darkness" และ "Lair of Grievous" มีโครงเรื่องที่ดีที่สุดในจักวาลขยายของ สตาร์ วอร์ส[74]
ซีซัน 3
[แก้]บนเว็บไซต์รอตเทนโทเมโทส์นั้น ซีซันที่สามได้รับคะแนนความนิยม 100% ยึดจากบทวิจารณ์จากนักวิจารณ์ 5 บทความ โดยมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 8/10[75]
ซีซัน 5
[แก้]บนเว็บไซต์รอตเทนโทเมโทส์นั้น ซีซันที่ห้าได้รับคะแนนความนิยม 100% ยึดจากบทวิจารณ์จากนักวิจารณ์ 5 บทความ โดยมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 7.9/10[76]
ซีซัน 6
[แก้]บนเว็บไซต์รอตเทนโทเมโทส์นั้น ซีซันที่หกได้รับคะแนนความนิยม 100% ยึดจากบทวิจารณ์จากนักวิจารณ์ 12 บทความ โดยมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 8.90/10 ความเห็นร่วมกันของนักวิจารณ์บนเว็บไซต์นั้นระบุไว้ว่า "การเล่าเรื่องที่ซับซ้อนและการสร้างแอนิเมชันที่มีคุณภาพ ทำให้ซีซันที่หกของ สตาร์ วอร์ส: เดอะ โคลน วอร์ส เป็นการจบที่เหมาะสมอย่างยิ่งกับแอนิเมชันชุดนี้"[77]
ซีซัน 7
[แก้]บนเว็บไซต์รอตเทนโทเมโทส์นั้น ซีซันที่เจ็ดได้รับคะแนนความนิยม 100% ยึดจากบทวิจารณ์จากนักวิจารณ์ 36 บทความ โดยมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 7.75/10 ความเห็นร่วมกันของนักวิจารณ์บนเว็บไซต์นั้นระบุไว้ว่า "ด้วยลำดับแอนิเมชันการโลดโผนที่สวยงามและการเล่าเรื่องที่เป็นชั้น ๆ อย่างน่าประทับใจ บทสรุปของ สตาร์ วอร์ส: เดอะ โคลน วอร์ส ยังคงยืดหยัดเป็นหนึ่งในเรื่องราวที่ยอดเยี่ยมที่สุดของ สตาร์ วอร์ส"[78]
เรตติ้ง
[แก้]สตาร์ วอร์ส: เดอะ โคลน วอร์ส กลายเป็นแอนิเมชันชุดที่มีผู้ชมรอบปฐมทัศน์มากที่สุดในประวัติศาสตร์ของช่องการ์ตูนเน็ตเวิร์ค แอนิเมชันชุดนี้มีผู้ชมทั้งหมดเฉลี่ย 4 ล้านคนในการเปิดตัว ตามรายงานของ Nielsen Media Research การ์ตูนเน็ตเวิร์คกล่าวว่าภาคแยกของ สตาร์ วอร์ส นี้ ได้รับการจัดอันดับให้เป็นช่องอันดับหนึ่งในบรรดาเครือข่ายแอนิเมชันหลัก ๆ ทั้งหมด ในช่วงเวลาที่มีผู้ชมทั้งหมด (มีผู้ชมมากที่สุดสำหรับการออกอากาศรอบปฐมทัศน์ในบรรดาแอนิเมชันชุดการ์ตูนดั้งเดิม)[79] เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 2010 ที่งานซาน ดิเอโก คอมิกคอน เคร็ก เกลนเดย์ บรรณาธิการของบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ได้มอบใบรับรองการ์ตูนละครชุด "แอนิเมชันไซไฟที่มีเรตติ้งสูงสุดในโทรทัศน์ในปัจจุบัน" ให้กับ เดฟ ฟิโลนี ผู้อำนวยการกำกับดูแลของ สตาร์ วอร์ส: เดอะ โคลน วอร์ส, หัวหน้าแผนกซีจี โจ อารอน และผู้ออกแบบตัวละคร คิเลียน พลันเก็ตต์[80] เทค ไทมส์ กล่าวว่า "ในขณะที่ภาพยนตร์ไตรภาคก่อนของ สตาร์ วอร์ส ล้มเหลวในการทำให้ผู้ชมสนใจตัวละครอย่างอนาคิน สกายวอล์คเกอร์ แต่ เดอะ โคลน วอร์ส นั้นประสบความสำเร็จ"[81] ในช่วงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2020 หลังจากการเปิดตัวซีซัน 7 บนดิสนีย์+ เดอะ โคลน วอร์ส ก็กลายเป็นรายการต้นฉบับแบบดิจิตัลที่มีการสตรีมมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา[82]
รางวัล
[แก้]รางวัลที่ได้เข้าชิง | รางวัล/สาขา | ผู้เข้าชิง | ผล |
---|---|---|---|
แอนนีอวอร์ดส ครั้งที่ 36 | เพลงในงานสร้างรายการแอนิเมชันโทรทัศน์หรือรูปแบบสั้น | เควิน ไคเนอร์ ("Rising Malevolence") | เสนอชื่อเข้าชิง |
แอนนีอวอร์ดส ครั้งที่ 37 | เพลงในงานผลิตรายการโทรทัศน์ | เควิน ไคเนอร์ ("Weapons Factory") | |
แอนนีอวอร์ดส ครั้งที่ 38 | งานผลิตรายการแอนิเมชันโทรทัศน์ยอดเยี่ยม | "ARC Troopers" | |
งานพากย์เสียงในงานสร้า
รายการโทรทัศน์ |
โครีย์ เบอร์ทัน เป็น บารอน พาพานอยดา | ||
นิกา ฟัตเทอร์แมน เป็น อาซาจ เวนเทรส | |||
งานเขียนในงานสร้างรายการโทรทัศน์ | ดาเนียล อาร์คิน ("Heroes on Both Sides") | ||
ทีนชอยส์อวอร์ดส ประจำปี ค.ศ. 2010 | แอนิเมชันชุดที่ฉายทางโทรทัศน์ยอดนิยม | สตาร์ วอร์ส: เดอะ โคลน วอร์ส | |
บีวีทีเออวอร์ดส ประจำปี ค.ศ. 2010 | งานพากย์เสียงชายยอดเยี่ยมในซีรีส์โทรทัศน์ในบทตัวประกอบ | โครีย์ เบอร์ทัน เป็น เคานต์ดูกู | |
ทอม เคน เป็น โยดา | |||
งานพากย์เสียงหญิงยอดเยี่ยมในซีรีส์โทรทัศน์ในบทตัวประกอบ | บาร์บารา กูดซัน เป็น มาเธอร์ทัลซิน | ชนะ | |
นิกา ฟัตเทอร์แมน เป็น อาซาจ เวนเทรส | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
งานพากย์เสียงยอมเยี่ยมในซีรีส์โทรทัศน์ในบทตัวละครรับเชิญ | เลียม นีสัน เป็น ไควกอน จินน์ | ||
นักพากย์เสียงยอมเยี่ยมในซีรีส์โทรทัศน์ | สตาร์ วอร์ส: เดอะ โคลน วอร์ส | ||
แอนนีอวอร์ดส ครั้งที่ 39 | งานผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับผู้ชมทั่วไป | ||
เอฟเฟกต์สแอนิเมชันในงานสร้างแอนิเมชัน | โจเอิล อารอน | ||
งานพากย์เสียงในงานสร้างรายการโทรทัศน์ | นิกา ฟัตเทอร์แมน เป็น อาซาจ เวนเทรส | ||
ดี แบรดลีย์ เบเกอร์ เป็น โคลนทรูปเปอร์ | |||
งานตัดต่อในงานสร้างรายการโทรทัศน์ | เจสัน ดับเบิลยู. เอ. ทักเกอร์ | ||
คริติกส์ชอยส์เทเลวิชันอวอร์ดส ครั้งที่ 2 | ซีรีส์แอนิเมชันยอดเยี่ยม | สตาร์ วอร์ส: เดอะ โคลน วอร์ส | |
คริติกส์ชอยส์เทเลวิชันอวอร์ดส ครั้งที่ 3 | |||
พีเอเอเอฟทีเจเทเลวิชันอวอร์ดส ประจำปี ค.ศ. 2012 | |||
การกำกับยอดเยี่ยมในซีรีส์แอนิเมชัน | ไบรอัน คาลิน โอ'คอนเนล ("Slaves of the Republic") | ||
แอนนีอวอร์ดสครั้งที่ 40 | เอฟเฟกต์สแอนิเมชันในงานสร้างแอนิเมชัน | โจเอิล อารอน | |
ตัวละครแอนิเมชันในงานสร้างรายการแอนิเมชันโทรทัศน์ หรืองานสร้างรายการถ่ายทอดสดอื่น ๆ | คีธ เคลลอกก์ | ||
งานพากย์เสียงในงานสร้างรายการโทรทัศน์ หรืองานสร้างรายการถ่ายทอดสดอื่น ๆ | ซามูเอล วิทเวอร์ เป็น ดาร์ธ มอล | ||
งานตัดต่อในงานสร้างรายการโทรทัศน์ หรืองานสร้างรายการถ่ายทอดสดอื่น ๆ | เจสัน ทักเกอร์ | ||
เดย์ไทม์เอมมีอวอร์ดส์ ครั้งที่ 40 | รายการแอนิเมชันขั้นพิเศษ | สตาร์ วอร์ส: เดอะ โคลน วอร์ส | ชนะ |
นักแสดงในรายการแอนิเมชัน | จิม คัมมิงส์ เป็น ฮอนโด โอนากา | เสนอชื่อเข้าชิง | |
เดวิด เทนนันต์ เป็น ฮูแยง | ชนะ | ||
ซามูเอล วิทเวอร์ เป็น ดาร์ธ มอล | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
การกำกับในรายการแอนิเมชัน | เดฟ ฟิโลนี, ไคล์ ดันลีวาย, ไบรอัน คาลิน โอ'คอนเนล, สตวร์ด ลี, บอสโค อิง | ||
ทิศทางและองค์ประกอบของเพลง | สตาร์ วอร์ส: เดอะ โคลน วอร์ส | ||
การผสมเสียง – แอนิเมชัน | เดวิด อคอร์ด และคาเมรอน เดวิส | ||
บีวีทีเออวอร์ดส ประจำปี ค.ศ. 2012 | การตีความเสียงยอดเยี่ยมในตัวละครที่มีอยู่แล้ว | แซม วิทเวอร์ เป็น ดาร์ธ มอล | ชนะ |
งานแสดงยอดเยี่ยมในบทผู้บรรยาย | ทอม เคน เป็น ผู้บรรยายเรื่อง | เสนอชื่อเข้าชิง | |
งานสร้างเสียงยอดเยี่ยมสำหรับตัวละครใหม่ (ครั้งแรกที่ได้รับการแอนิเมต) | เดวิด เทนนันต์ เป็น ฮูแยง | ||
งานแสดงนำเสียงชายยอดเยี่ยมในซีรีส์โทรทัศน์ – โลดโผน/ดรามา | เจมส์ อาร์โนลด์ เทย์เลอร์ เป็น โอบีวัน เคโนบี | ชนะ | |
งานแสดงเสียงชายยอดเยี่ยมในซีรีส์โทรทัศน์ ในบทตัวละครประกอบ – โลดโผน/ดรามา | โครีย์ เบอร์ทัน เป็น แคด เบน | ||
แคลนซี บราวน์ เป็น ซาวาจ โอเพรส | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
แซม วิทเวอร์ เป็น ดาร์ธ มอล | |||
งานแสดงนำเสียงหญิงยอดเยี่ยมในซีรีส์โทรทัศน์ – โลดโผน/ดรามา | แอชลีย์ เอกสไตน์ เป็น อาโซกา ทาโน | ||
งานแสดงเสียงหญิงยอดเยี่ยมในซีรีส์โทรทัศน์ ในบทตัวละครประกอบ – โลดโผน/ดรามา | นิกา ฟัตเทอร์แมน เป็น อาซาจ เวนเทรส | ชนะ | |
งานแสดงเสียงยอดเยี่ยมในบทตัวละครรับเชิญ | เดวิด เทนนันต์ เป็น ฮูแยง | เสนอชื่อเข้าชิง | |
นักพากย์เสียงยอดเยี่ยมในซีรีส์โทรทัศน์ – โลดโผน/ดรามา | สตาร์ วอร์ส: เดอะ โคลน วอร์ส | ||
นีออกซ์แฟนอวอร์ดส ประจำปี ค.ศ. 2013 | ซีรีส์นีออกซ์คิดซ์ยอดเยี่ยม | ||
เดย์ไทม์เอมมีอวอร์ดส์ ครั้งที่ 41 | รายการแอนิเมชันขั้นพิเศษ | ชนะ | |
รายบุคคลในแอนิเมชัน | ครอสโตเฟอร์ วอย สำหรับงานสี | ||
การผสมเสียง – แอนิเมชัน | คาเมรอน เดวิส, เดวิส อคอร์ด, แฟรงก์ รีเนลลา, และ มาร์ก เอแวนส์ | เสนอชื่อเข้าชิง | |
การตัดต่อเสียง – แอนิเมชัน | แมทธิว วูด, ดีน เมนทา, เจเรมี บาวเคอร์, เอริค ฟอร์แมน, ปาสแคล จาร์นีว, สตีฟ สลาเนค, แฟรงก์ รีเนลลา, เดนนี ธอร์ปm จานา แวนส์, และเดวิด อคอร์ด | ||
บีวีทีเออวอร์ดส ประจำปี ค.ศ. 2013 | งานแสดงนำเสียงชายยอดเยี่ยมในซีรีส์โทรทัศน์ – โลดโผน/ดรามา | เจมส์ อาร์โนลด์ เทย์เลอร์ เป็น โอบีวัน เคโนบี | |
งานแสดงนำเสียงหญิงยอดเยี่ยมในซีรีส์โทรทัศน์ – โลดโผน/ดรามา | แอชลีย์ เอกสไตน์ เป็น อาโซกา ทาโน | ||
งานแสดงเสียงชายยอดเยี่ยมในซีรีส์โทรทัศน์ ในบทตัวละครประกอบ – โลดโผน/ดรามา | แซม วิทเวอร์ เป็น ดาร์ธ มอล | ||
งานแสดงเสียงหญิงยอดเยี่ยมในซีรีส์โทรทัศน์ ในบทตัวละครประกอบ – โลดโผน/ดรามา | เคที แซ็คฮอฟฟ์ เป็น โบ-คาทาน | ||
นิกา ฟัตเทอร์แมน เป็น อาซาจ เวนเทรส | |||
งานแสดงเสียงชายยอดเยี่ยมในบทตัวละครรับเชิญ | เอียน เอเบอร์ครอมบี เป็น ดาร์ธ ซิเดียส | ชนะ | |
งานแสดงเสียงหญิงยอดเยี่ยมในบทตัวละครรับเชิญ | คารี วอลเกรน เป็น เลททา เทอร์มอนด์ | เสนอชื่อเข้าชิง | |
แอนนีอวอร์ดส ครั้งที่ 41 | ตัวละครแอนิเมชันในงานสร้างรายการแอนิเมชันโทรทัศน์ หรืองานสร้างรายการถ่ายทอดสดอื่น ๆ | คีธ เคลลอกก์ | |
งานตัดต่อในงานสร้างรายการโทรทัศน์ หรืองานสร้างรายการถ่ายทอดสดอื่น ๆ | เจสัน ดับเบิลยู.เอ. ทักเกอร์ | ||
เดย์ไทม์เอมมีอวอร์ดส์ ครั้งที่ 42 | รายการแอนิเมชันขั้นพิเศษ | สตาร์ วอร์ส: เดอะ โคลน วอร์ส | |
นักแสดงในรายการแอนิเมชัน | มาร์ก แฮมิลล์ เป็น ดาร์ธ เบน | ||
งานเขียนในรายการแอนิเมชัน | คริสเทียน เทย์เลอร์ | ||
การกำกับในรายการแอนิเมชัน | เดฟ ฟิโลนี, ไบรอัน คาลิน โอ'คอนเนล, แดนนี เคลเลอร์, สตวร์ด ลี | ||
การผสมเสียง – แอนิเมชัน | คาเมรอน เดวิส, เดวิด อคอร์ด, แฟรงก์ ริเนลลา, มาร์ก เอแวนส์ | ||
การตัดต่อเสียง – แอนิเมชัน | แมทธิว วูด, เดวิด อคอร์ด, ดีน เมนทา, เจเรมี บาวเคอร์, สตีฟ สลาเนค, แอนเดรีย การ์ด, เควิน เซลเลอร์ส, เดนนี ธอร์ป, และตานา แวนส์ | ||
ทิศทางและองค์ประกอบของเพลง | เควิน ไคเนอร์ | ||
บีวีทีเออวอร์ดส ประจำปี ค.ศ. 2014 | งานแสดงนำเสียงชายยอดเยี่ยมในซีรีส์โทรทัศน์ – โลดโผน/ดรามา | ดี แบรดลีย์ เบเกอร์ เป็น ไฟวส์ | |
งานแสดงเสียงชายยอดเยี่ยมในซีรีส์โทรทัศน์ ในบทตัวละครรับเชิญ – โลดโผน/ดรามา | ทอม เคน เป็น โยดา | ||
งานแสดงเสียงชายยอดเยี่ยมในซีรีส์โทรทัศน์ ในบทตัวละครรับเชิญ – โลดโผน/ดรามา | บ็อบ เบอร์เก็น เป็น ลามา ซุ | ||
มาร์ก แฮมิลล์ เป็น ดาร์ธ เบน | |||
งานแสดงเสียงหญิงยอดเยี่ยมในซีรีส์โทรทัศน์ ในบทตัวละครรับเชิญ – โลดโผน/ดรามา | ไจอามี คิง เป็น นักบวชหญิงแห่งพลัง | ||
นักพากย์เสียงยอดเยี่ยมในซีรีส์โทรทัศน์ – โลดโผน/ดรามา | สตาร์ วอร์ส: เดอะ โคลน วอร์ส | ||
แอนนีอวอร์ดส ครั้งที่ 48 | เพลงในงานสร้างรายการโทรทัศน์ หรืองานสร้างรายการถ่ายทอดสดอื่น ๆ | เควิน ไคเนอร์ ("Victory and Death") | ชนะ |
เดย์ไทม์เอมมีอวอร์ดส์ ครั้งที่ 48 | การผสมเสียงและการตัดต่อเสียงในรายการแอนิเมชัน | แมทธิว วูด, เดวิด อคอร์ด, คิมเบอร์ลี แพทริก, เจมส์ สเปนเซอร์, ดาเนียล ดูปรี, แฟรงก์ รีเนลลา, เจสัน บัทเลอร์, แอนเดรีย การ์ด, มาร์กี โอ'แมลลีย์, ปีเตอร์ แลม, คาเมรอน เดวิส, ไบรอัน แฟรงก์, โทนี ดีแอซ และ คาร์ลอส โซโทลอนโง | ชนะ |
สิ่งสืบทอด
[แก้]แอนิเมชันชุด สตาร์ วอร์ส เรเบลส์ (ค.ศ. 2014-2018) ดำเนินเรื่องต่อจาก เดอะ โคลน วอร์ส โดยดำเนินเรื่องที่เกี่ยวกับตัวละครบางตัวประกอบด้วย อาโซกา, กัปตันเร็กซ์, มอล, และดาร์ธ เวเดอร์ รวมถึงโครงเรื่องที่เกี่ยวกับชาวแมนดาลอร์, โอบีวัน เคโนบี, ฮอนโด โอนากา, และซอว์ เกอร์เรร่า[83] ฟอเรสต์ วิตเทกเกอร์แสดงเป็นเกอร์เรร่าในภาพยนตร์คนแสดง โร้ค วัน (ค.ศ. 2016)[84] บางตัวละครนี้และบางองค์ประกอบยังมีการนำไปใช้ในละครชุดสตรีมมิงแบบคนแสดงของดิสนีย์+ เดอะแมนดาลอเรียน (ค.ศ. 2019-ปัจจุบัน)[83] ซึ่งเดฟ ฟิโลนีเป็นผู้อำนวยการสร้าง นอกจากนี้ยังมีการสร้างภาคแยกจาก เดอะแมนดาลอเรียน ที่ฟิโลนีเป็นผู้ร่วมพัฒนา โดยเป็นซีรีส์คนแสดงที่เกี่ยวกับ อาโซกา[85]
ต่อเนื่องจากบทสรุปของซีซันที่ 7 ซึ่งเป็นซีซันสุดท้ายในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2020 นั้น มีการประกาศแอนิเมชันภาคต่อซึ่งภาคแยกออกมาชื่อ สตาร์ วอร์ส: ทีมโคตรโคลนมหากาฬ ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2020 และฉายรอบปฐมทัศน์ในวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 2021[86][87] ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2022 มีการเปิดตัวว่าแอนิเมชันชุดรวมเรื่อง ชื่อ เทลส์ ออฟ เดอะ เจได กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา[88] ซีรีส์ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2022 และมีการฉายรอบปฐมทัศน์ในวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 2022[89][90]
เดอะ โคลน วอร์ส เลกาซี
[แก้]ในตอนที่มีการประกาศยกเลิกแอนิเมชันชุดนี้ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2013 มีถึง 65 ตอนที่ยังอยู่ภายใต้การพัฒนา[91] 13 ตอนในตอนเหล่านี้นั้นถูกนำมาทำให้เสร็จและกลายเป็นส่วนหนึ่งของ ซีซัน 6: The Lost Missions[92] แต่ก็ยังมีโครงเรื่องบางโครงเรื่องที่ยังไม่ถูกปล่อยตัว ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2014 StarWars.com ปล่อยรายละเอียดเกี่ยวกับสามโครงเรื่องจากตอนที่ยังไม่เสร็จ[7] ในปี ค.ศ. 2020 อีก 12 ตอนจากตอนที่ยังไม่เสร็จนั้นถูกทำให้เสร็จและปล่อยออกมาบนดิสนีย์+ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของซีซันที่ 7 และเป็นซีซันสุดท้ายของรายการนี้
วรรณกรรม
[แก้]โครงเรื่องจำนวนสี่ตอนเกี่ยวกับมอล ตามต่อจากเหตุการณ์จากซีซัน 5 ตอน "The Lawless" โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับการหลบหนีของเขาจากซิเดียส; มอลสามารถครองกลุ่มอาชญกรรม คริมินัลชาโดว์คอเลกทีฟ และต่อสู้กับดูกู กรีวัส และซิเดียส[93] โครงเรื่องนี้ถูกดัดแปลงเป็นหนังสือการ์ตูนชุดที่มีจำนวนจำกัด มีตอนจำนวนสี่ตอน เรื่อง ดาร์ธ มอล: ซันออฟดาโธเมียร์ ซึ่งเปิดตัวครั้งแรกในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2014[7]
ดาร์ก ดิสซิเพิล
[แก้]โครงเรื่องจำนวนแปดตอนเกี่ยวกับไนท์ซิสเตอร์ อาซาจ เวนเทรส และเจได ควินแลน วอส ถูกดัดแปลงเป็น ดาร์ก ดิสซิเพิล ซึ่งเป็นนวนิยายโดยคริสที โกลเดน ถูกปล่อยตัวในวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 2015[7] โดยเรื่องนี้ติดตามเรื่องราวเกี่ยวกับวอสร่วมมือกับเวนเทรสเพื่อหวังจะกำจัดดูกู[94]
สตอรีรีลส์
[แก้]โครงเรื่องสองโครงเรื่องซึ่งแต่ละโครงเรื่องประกอบด้วยตอนสี่ตอน ถูกปล่อยตัวแบบฟรีบนเว็บไซต์ทางการของ สตาร์ วอร์ส ในรูปแบบของสตอรีบอร์ดแบบเคลื่อนไหว ถึงแม้ว่าจะเป็นเพียงแอนิเมชันที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ เนื่องด้วยตอนเหล่านั้นผ่านเพียงแค่ช่วงต้นของการสร้าง ทั้งสองโครงเรื่องนี้ได้รับการพากย์เสียงทั้งหมดโดยเหล่านักแสดง
วิกฤติคริสตัลบนดาวยูทาเปา
[แก้]ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2014 ตอนที่ยังไม่เสร็จสี่ตอนได้ถูกปล่อยบนเว็บไซต์ทางการของ สตาร์ วอร์ส โครงเรื่องนี้เกิดขึ้นบนดาวยูทาเปา โดยโอบีวันและอนาคินสืบสวนเรื่องการค้าอาวุธที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายแบ่งแยกและไคเบอร์คริสตัล นอกจากนี้ โครงเรื่องนี้ยังแสดงถึงความรู้สึกของอนาคินหลังจากการจากไปของอาโซกา[7][95] นอกจากนี้โครงเรื่องนี้ยังรวมอยู่ในบลูเรย์ของซีซัน 6
ทีมโคตรโคลนมหากาฬ
[แก้]สตอรีบอร์ดแบบเคลื่อนไหวที่ยังไม่เสร็จสำหรับ ทีมโคตรโคลนมหากาฬ ซึ่งเป็นโครงเรื่องที่มีจำนวนตอน 4 ตอนนั้น ถูกฉายในงาน Star Wars Celebration ที่จัดที่ แอนะไฮม์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ในวันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 2015[96] บทนั้นเขียนโดยเบรนท์ ไฟรด์แมน โดยเป็นโครงเรื่องที่มีสี่ส่วนเกี่ยวกับหน่วยโคลนคอมมานโดที่ฉาวโฉ่วซึ่งมีชื่อว่าแบดแบทช์ โครงเรื่องนี้ถูกปล่อยให้รับชมฟรีบน StarWars.com ไม่นานหลังจากวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 2015 ตอนที่เสร็จสมบูรณ์ถูกฉายเป็นส่วนแรกของซีซัน 7[97]
วีดีโอเกม
[แก้]วิดีโอเกม จำนวน 7 เกมนั้นถูกปล่อยออกมา ซึ่งมีต้นแบบมาจากรูปแบบและงานออกแบบตัวละครของแอนิเมชันชุดนี้
- สตาร์ วอร์ส: เดอะ โคลน วอร์ส – ไลท์เซเบอร์ดูเอิลส์ เป็นเกมต่อสู้ ปล่อยตัววันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008 สำหรับ วี
- สตาร์ วอร์ส: เดอะ โคลน วอร์ส – เจไดอัลไลแอนซ์ เป็นเกมโลดโผน-ผจญภัย ปล่อยตัววันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008 สำหรับ นินเท็นโด ดีเอส
- สตาร์ วอร์ส: เดอะ โคลน วอร์ส – รีพับลิกฮีโร่ส์ เป็นอีกเกมโลกโผน-ผจญภัย ที่ดำเนินเรื่องในระหว่างซีซัน 1 และซีซัน 2 ปล่อยตัววันที่ 9 ตุลาคม ค.ศ. 2009 สำหรับ ไมโครซอฟท์ วินโดวส์, เอกซ์บ็อกซ์ 360, เพลย์สเตชัน 3, วี, เเพลย์สเตชัน พอร์เทเบิล, เพลย์สเตชัน 2 และนินเท็นโด ดีเอส
- โคลนวอร์สแอดเวนเทอร์ส เป็นเกมออนไลน์พีซี ปล่อยตัววันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 2010 ผ่านระบบออนไลน์โดยโซนีออนไลน์เอนเตอร์เทนเมนท์ และปิดตัวลงวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 2014
- เลโก้ สตาร์ วอร์ส 3: เดอะ โคลน วอร์ส ปล่อยตัวในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2011 โดย ทีที เกมส์ สำหรับ เพลย์สเตชัน 3, เพลย์สเตชัน พาร์เทเบิล, เอกซ์บอกซ์ 360, วี, นินเท็นโด ดีเอส, พีซี, แมค, และนินเท็นโด 3ดีเอส ซึ่งดัดแปลงรูปแบบตัวละครให้เป็นธีมของ เลโก้ สตาร์ วอร์ส และมีต้นแบบส่วนใหญ่มาจากสองซีซันแรก
- สตาร์ วอร์ส: โคลน วอร์ส พินบอล เป็นพินบอลเสมือนจริงที่ดัดแปลงมาจากการฉายรอบแรกของแอนิเมชันชุดนี้ ปล่อยตัวในปี ค.ศ. 2013 ในรูปแบบของภาคเสริมที่ซื้อได้ในคอลเลกชัน สตาร์ วอร์ส พินบอล ของ เซน สตูดิโอส์ สำหรับระบบเครื่องเล่นเกมในบ้านรุ่นที่ 7 และรุ่นที่ 8 เป็นส่วนใหญ่, คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์พกพา
- ดิสนีย์ อินฟินิตี้ 3.0 ปล่อยตัวในเดือนกันยายน ค.ศ. 2015 โดย ดิสนีย์ อินเทอร์แอกทีฟ สำหรับ เพลย์สเตชัน 4, เพลย์สเตชัน 3, เอกซ์บอกซ์ 360, วี ยู, ไมโครซอฟท์ วินโดวส์, ไอโอเอส และแอนดรอยด์ ซึ่งดัดแปลงรูปแบบตัวละครหลักจากเรื่องนี้ให้เป็นรูปแบบแอคชั่นฟิกเกอร์ซึ่งสามารถเล่นได้ผ่านระบบ toys-to-life NFC เท่านั้น โดยในแต่ละฉบับของเกมนั้นจะมาพร้อมเพลย์เซ็ต "Twilight of the Republic" ซึ่งเป็นเส้นเรื่องราวเบี่ยงเบนที่เดินเรื่องในช่วงสงครามโคลน พร้อมด้วยตัวละครเริ่มต้นสองตัวละคร อนาคิน และอาโซกา นอกจากนี้ ตัวละครอื่น ๆ จากรายการนี้ยังปรากฎตัวอีกด้วย ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่จะไม่สามารถเล่นได้หรือถูกสู้ในฐานะตัวละครบอส
ตัวละครและสถานที่จากรายการที่ปรากฏในเกม สตาร์ วอร์ส ดังต่อไปนี้:
- สตาร์ วอร์ส: กาแลกติกดีเฟนส์ เป็นอดีตเกมป้องกันปราการที่ปล่อยบนไอโอเอสและแอนดรอยด์ โดย DeNA ซึ่งบางส่วนของแชมเปียนส์ที่สามารถเล่นได้นั้นมาจากตัวละครในรายการ นอกจากนี้ หลายเลเลลในแคมเปญหลักนั้นดำเนินเรื่องบนดาวเฟลูเชีย ซึ่งเป็นสมรภูมิในสงครามโคลนที่สำคัญซึ่งพบในหลาย ๆ ตอน
- สตาร์ วอร์ส: กาแลกซีออฟฮีโร่ส์ เป็นเกมเกมเล่นตามบทบาทแบบผลัตตา ปล่อยตัวบนไอโอเอสและแอนดรอยด์ โดยอิเล็กทรอนิก อาตส์ โดยบางเลเวลนั้นดำเนินเรื่องบนดาวที่มีการแสดงในรายการ (เช่น ดาโธเมียร์) และจำหนึ่งหนึ่งของตัวละครที่สะสมและเล่นได้นั้น มาจากรายการนี้
- สตาร์ วอร์ส: ฟอร์ซอารีนา เป็นเกมโมบาออนไลน์ ปล่อยบนไอโอเอสและแอนดรอย์ โดยเน็ตมาร์เบิล โดยในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2017 นั้นมีการอัพเดทให้ผู้เล่นสามารถเรียกตัวละคร ยานพาหนะ หรือหน่วยรบจากแอนิเมชันชุดนี้ได้ รวมถึงมีการต่อสู้บนดาว เช่น เฟลูเชีย
- สตาร์วอร์ส แบตเทิลฟรอนต์ 2 ปล่อยบน ไมโครซอฟท์ วินโดวส์, เพลย์สเตชัน 4 และเอกซ์บอกซ์วัน โดยผู้เล่นสามารถต่อสู้บนหรือเหนือต่อดาว เช่น ไรลอธ และคามิโน่ ซึ่งเกิดบางยุทธการในแอนิเมชันชุดนี้ โดยวูด, เทย์เลอร์, แลนเทอร์ และเบอร์ทัน ยังกลับมาให้เสียงสำหรับตัวละครฮีโร่ใหม่ที่สามารถเล่นได้ (นายพลกรีวัส, โอบีวัน เคโนบี, อนาคิน สกายวอล์คเกอร์ และเคานต์ดูกู ตามลำดับ) ซึ่งถูกเพิ่มมาในซีซันที่สามของเกม ในช่วงท้ายปี ค.ศ. 2018 โดยมีธีมมาจากสงครามโคลน
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ แอนิเมชันชุดดั้งเดิมนั้นออกอากาศจนถึงวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 2014 ต่อมาแอนิเมชันชุดได้รับการฟื้นฟูและออกอากาศระหว่างวันที่ 21 กุมภาพันธ์ถึง 4 พฤษภาคม ค.ศ. 2020
- ↑ ฟิโลนี คิดว่างานที่ได้รับการทาบทามนั้นเกี่ยวข้องกับ บริษัทลูคัสฟิล์ม แอนิเมชัน ที่พึ่งก่อตั้งนั้นเป็นเพียงการหยอกล้อโดยหนึ่งในเพื่อนร่วมงานเขาเท่านั้น
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Lucas' CGI project going bigscreen before small". CGCG Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 26, 2008.
- ↑ "Clone Wars". Cartoon Network. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 16, 2013. สืบค้นเมื่อ January 25, 2013.
- ↑ "Meet the Producer and Director Of The Clone Wars at Celebration IV". Star Wars: Community. May 11, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 16, 2008. สืบค้นเมื่อ January 25, 2013.
- ↑ "A New Direction For Lucasfilm Animation". StarWars.com. มีนาคม 11, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ พฤษภาคม 23, 2013. สืบค้นเมื่อ มีนาคม 11, 2013.
- ↑ Franich, Darren (March 11, 2013). "Star Wars TV: Clone Wars canceled, Detours postponed". Entertainment Weekly. สืบค้นเมื่อ February 23, 2017.
- ↑ 6.0 6.1 Itzkoff, Dave (February 14, 2014). "'Clone Wars' Moves to Netflix". The New York Times. สืบค้นเมื่อ February 14, 2014.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 Star Wars (September 25, 2014). Star Wars: The Clone Wars Legacy. สืบค้นเมื่อ 5 February 2020 – โดยทาง YouTube.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 Hibberd, James (23 August 2019). "Star Wars: The Clone Wars season 7 gets a premiere date". Entertainment Weekly. สืบค้นเมื่อ 24 August 2019.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 Brooks, Dan (July 19, 2018). "SDCC 2018: Star Wars: The Clone Wars to Return with New Episodes". StarWars.com. สืบค้นเมื่อ July 19, 2018.
- ↑ 10.0 10.1 @Stephen_Stanton (January 4, 2020). "So Who's Ready? #StarWars #TheCloneWars is coming to #DisneyPlus on Feb 17th! #BegunTheCloneWars Have" (ทวีต). สืบค้นเมื่อ January 4, 2020 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ "Star Wars: The Clone Wars Wins Two Daytime Emmy Awards". StarWars.com. Lucasfilm. June 17, 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 20, 2020. สืบค้นเมื่อ February 13, 2021.
- ↑ "38th Annie Awards". Annie Awards. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 18, 2020. สืบค้นเมื่อ February 13, 2021.
- ↑ "StarWars.com | George Lucas Talks Star Wars: The Clone Wars". StarWars.com. March 17, 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 4, 2011.
- ↑ Jones, Brian Jay (2016). George Lucas: A Life. New York City: Little, Brown and Company. p. 449. ISBN 978-0-316-25744-2. OCLC 946216508.
- ↑ "iTunes - TV Shows - The Nightsisters Trilogy: Feature-length Cut". iTunes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 4, 2012.
- ↑ "StarWars.com | The Clone Wars: Decoded on May 1 on Cartoon Network". StarWars.com. April 6, 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 4, 2011.
- ↑ 17.0 17.1 Block, Lesley Goldberg,Alex Ben; Goldberg, Lesley; Block, Alex Ben (March 13, 2013). "'Star Wars: Clone Wars' Ends Its Run on Cartoon Network". The Hollywood Reporter (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 8, 2021. สืบค้นเมื่อ February 18, 2024.
- ↑ "Star Wars: The Clone Wars Chronological Episode Order". StarWars.com (ภาษาอังกฤษ). March 17, 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 11, 2014. สืบค้นเมื่อ August 26, 2020.
- ↑ Young, Bryan (February 28, 2023). "Exclusive: Tim Curry Joins Star Wars". The Huffington Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 15, 2023. สืบค้นเมื่อ March 1, 2013.
- ↑ Sanchez, Robert (January 29, 2007). "NEW Animated Star Wars: Clone Wars Series Fully in Production!". IESB.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 29, 2008. สืบค้นเมื่อ January 25, 2013.
- ↑ White, Abbey (May 4, 2020). "The surprising reason Dave Filoni almost never worked on The Clone Wars". Looper.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 6, 2020. สืบค้นเมื่อ May 20, 2020.
- ↑ "StarWars.com at Comic-Con 2005". Star Wars: Community. July 12, 2005. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 23, 2008. สืบค้นเมื่อ November 6, 2018.
- ↑ "Lucas on the Star Wars TV Projects". ComingSoon.net. August 2, 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 27, 2006. สืบค้นเมื่อ November 6, 2018.
- ↑ "Autodesk Maya software serves as animation platform for new Star Wars: The Clone Wars animated feature film and TV series". TradingMarkets.com. August 26, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 2, 2008. สืบค้นเมื่อ November 6, 2018.
- ↑ Vilmur, Pete (October 5, 2011). "Clone Wars Character Designer Kilian Plunkett". StarWars.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 11, 2007. สืบค้นเมื่อ November 6, 2018.
- ↑ Martinez, Kiko (August 27, 2008). "Hispanic animator helps create new Star Wars universe". Extra News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 11, 2007. สืบค้นเมื่อ November 6, 2018.
- ↑ "Imagina 2007 : Interview de Rob Coleman". Mintinbox.net (ภาษาฝรั่งเศส). September 20, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 8, 2007. สืบค้นเมื่อ January 25, 2013.
- ↑ Goldman, Eric (March 5, 2007). "Paley Fest: George Lucas Gives Details on the Star Wars TV Shows". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 14, 2007.
- ↑ "Exclusive Video Interview: George Lucas Says Star Wars Is Not Dead". IESB.net. March 3, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 24, 2007. สืบค้นเมื่อ May 31, 2007.
- ↑ "Video". Star Wars. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 1, 2007. สืบค้นเมื่อ January 25, 2013.
- ↑ Sonsky, Steve (September 20, 2007). "George Lucas, Episode II: Star Wars Strikes Back — on TV". TV Guide. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 8, 2008.
- ↑ Merrick (April 8, 2007). "A Teeny Tidbit About One Of Those Nutty Little STAR WARS TV Series We Keep Hearing About!!". Ain't It Cool News (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 9, 2012. สืบค้นเมื่อ January 25, 2013.
- ↑ Swartz, Kristi E. (September 2, 2008). "Cartoon Network is eager to use the force". The Atlanta Journal-Constitution. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 18, 2011. สืบค้นเมื่อ September 2, 2008.
- ↑ Venable, Nick (November 24, 2016). "The Last Star Wars Project George Lucas Considered Before Selling To Disney". Cinemablend (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 28, 2016. สืบค้นเมื่อ December 19, 2016.
- ↑ Ward, Jason (August 15, 2015). "Brent Friedman, writer for The Clone Wars, talks Season 7 & 8!". Making Star Wars. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 1, 2014. สืบค้นเมื่อ February 5, 2020.
- ↑ "Clone War Comics". StarWars.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 3, 2008. สืบค้นเมื่อ October 10, 2008.
- ↑ "'Star Wars: The Clone Wars' Hits Theaters, TV - Animated saga will air on Cartoon Network, TNT". Zap2It.com. February 12, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 20, 2008. สืบค้นเมื่อ February 5, 2020.
- ↑ "The Force is with Netflix". Netflix. February 13, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 19, 2014. สืบค้นเมื่อ November 9, 2018.
- ↑ "5 Moments When Asajj Ventress Surprised Us". StarWars.com (ภาษาอังกฤษ). August 11, 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 25, 2019. สืบค้นเมื่อ March 25, 2019.
- ↑ Cavanaugh, Patrick (July 31, 2019). "Here Are the Star Wars Titles That Will Be Available on Disney+ Launch Day". ComicBook.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 1, 2019. สืบค้นเมื่อ August 1, 2019.
- ↑ "The Clone Wars Season 7 Release Schedule - When Do New Episodes Come Out?". IGN (ภาษาอังกฤษ). May 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 4, 2020. สืบค้นเมื่อ May 8, 2020.
- ↑ "Star Wars: The Clone Wars The Complete Season One on DVD and Blu-Ray". StarWars.com. July 15, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 August 2009. สืบค้นเมื่อ 5 February 2020.
- ↑ "Star Wars: The Clone Wars The Complete Season Two on DVD and Blu-Ray!". StarWars.com. May 27, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 15, 2011. สืบค้นเมื่อ September 14, 2010.
- ↑ "The Clone Wars Season 3 on Blu-Ray and DVD This October". StarWars.com. June 20, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 2, 2011. สืบค้นเมื่อ 5 February 2020.
- ↑ "Star Wars: The Clone Wars – Darth Maul Returns". Target. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มีนาคม 5, 2013. สืบค้นเมื่อ มีนาคม 14, 2013.
- ↑ Lambert, David (มิถุนายน 29, 2012). "The Clone Wars – 'The Complete Season 4' on DVD and Blu-ray Disc". TVShowsOnDVD.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กรกฎาคม 1, 2012. สืบค้นเมื่อ มิถุนายน 29, 2012.
- ↑ "Star Wars: The Clone Wars – The Complete Season Four DVD". Amazon.co.uk. October 22, 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 10, 2016. สืบค้นเมื่อ January 25, 2013.
- ↑ "Star Wars: The Clone Wars – Season 4". Ezy DVD. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 30, 2012. สืบค้นเมื่อ April 12, 2012.
- ↑ 49.0 49.1 "SWCE 2013: Star Wars: The Clone Wars The Complete Season Five and Seasons 1–5 Box Sets Coming This Fall". StarWars.com. กรกฎาคม 26, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กรกฎาคม 28, 2013. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 29, 2013.
- ↑ LaSalata, Justin (August 23, 2014). "Amazon Germany Lists The Clone Wars Season 6 On DVD And Blu-ray". Jedi News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 19, 2019. สืบค้นเมื่อ August 19, 2019.
- ↑ "Star Wars: The Clone Wars – The Lost Missions 2 Blu-Ray". JB Hi-Fi.com.au. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 11, 2015. สืบค้นเมื่อ 5 February 2020.
- ↑ "Darth Maul Returns to Target-exclusive DVD in Director's Cut of The Clone Wars". Club Jade (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). September 7, 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 6, 2012. สืบค้นเมื่อ September 27, 2012.
- ↑ "Star Wars: The Clone Wars". Rotten Tomatoes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 8, 2011. สืบค้นเมื่อ 2022-01-01.
- ↑ "Star Wars: The Clone Wars". Metacritic. สืบค้นเมื่อ August 3, 2023.
- ↑ 55.0 55.1 Star Wars: The Clone Wars (ภาษาอังกฤษ), เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 19, 2021, สืบค้นเมื่อ 2021-08-19
- ↑ "Star Wars: The Clone Wars – Season 1 Reviews". Metacritic. CBS Interactive. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 9, 2011. สืบค้นเมื่อ August 3, 2023.
- ↑ 57.0 57.1 "Star Wars: The Clone Wars". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ August 3, 2023.
- ↑ "Star Wars: The Clone Wars – Season 2 Reviews". Metacritic. สืบค้นเมื่อ August 3, 2023.
- ↑ "Star Wars: The Clone Wars". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ August 3, 2023.
- ↑ "Star Wars: The Clone Wars – Season 3 Reviews". Metacritic. สืบค้นเมื่อ August 3, 2023.
- ↑ "Star Wars: The Clone Wars". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ August 3, 2023.
- ↑ "Star Wars: The Clone Wars – Season 4 Reviews". Metacritic. สืบค้นเมื่อ August 3, 2023.
- ↑ "Star Wars: The Clone Wars". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ August 3, 2023.
- ↑ "Star Wars: The Clone Wars – Season 5 Reviews". Metacritic. สืบค้นเมื่อ August 3, 2023.
- ↑ "Star Wars: The Clone Wars". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ August 3, 2023.
- ↑ "Star Wars: The Clone Wars – Season 6 Reviews". Metacritic. สืบค้นเมื่อ August 3, 2023.
- ↑ "Star Wars: The Clone Wars". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ August 3, 2023.
- ↑ "Star Wars: The Clone Wars – Season 7 Reviews". Metacritic. สืบค้นเมื่อ August 3, 2023.
- ↑ Hibberd, James; Nordyke, Kimberly (July 11, 2008). "First look: 'Star Wars: The Clone Wars' TV series". The Live Feed.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 14, 2008. สืบค้นเมื่อ February 5, 2020.
- ↑ Patterson, Troy (October 3, 2008). "Star Wars: The Clone Wars reviewed". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 19, 2021. สืบค้นเมื่อ August 22, 2021.
- ↑ Maureen, Ryan (October 3, 2008). "Bland 'Clone Wars' doesn't live up to brand". Chicago Tribune (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 2, 2022. สืบค้นเมื่อ August 22, 2021.
- ↑ "IGN Top 100 Animated TV Series". IGN. Ziff Davis. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 22, 2009.
- ↑ "Top 100 Animated Series". IGN (ภาษาอังกฤษ). January 14, 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 30, 2021. สืบค้นเมื่อ April 30, 2021.
- ↑ "89: Star Wars: The Clone Wars". IGN. January 23, 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 19, 2009. สืบค้นเมื่อ January 24, 2009.
- ↑ "Star Wars: The Clone Wars". Rotten Tomatoes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 19, 2021. สืบค้นเมื่อ August 19, 2021.
- ↑ "Star Wars: The Clone Wars". Rotten Tomatoes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 19, 2021. สืบค้นเมื่อ August 19, 2021.
- ↑ "Star Wars: The Clone Wars: Season 6". Rotten Tomatoes (ภาษาอังกฤษ). Fandango. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 20, 2019. สืบค้นเมื่อ April 18, 2020.
- ↑ "Star Wars: The Clone Wars: Season 7". Rotten Tomatoes (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 18, 2020. สืบค้นเมื่อ January 12, 2021.
- ↑ Nordyke, Kimberly (October 8, 2008). ""Clone Wars" a new star for Cartoon Network". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 9, 2008. สืบค้นเมื่อ October 7, 2008.
- ↑ "Record-Breaking Clone Wars Series to Visit Kamino". StarWars.com. July 24, 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 22, 2011.
- ↑ Parrish, Robin (July 31, 2015). "Why 'Rebels' And 'The Clone Wars' Are The Best Star Wars Material In 30 Years". Tech Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 7, 2016. สืบค้นเมื่อ May 20, 2016.
- ↑ ""Star Wars: The Clone Wars" Becomes Most-Streamed Digital Original Show". DAPS MAGIC (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). May 17, 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 25, 2020. สืบค้นเมื่อ May 18, 2020.
- ↑ 83.0 83.1 McGinley, Rhys (2021-07-08). "Star Wars: Rebels - 10 Of The Coolest Connections To Other Movies & TV Shows". ScreenRant (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 28, 2021. สืบค้นเมื่อ 2022-04-25.
- ↑ Breznican, Anthony (June 22, 2016). "Rogue One: Forest Whitaker's character has a rich Star Wars history". Entertainment Weekly. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 24, 2016. สืบค้นเมื่อ 2022-04-24.
- ↑ Anderton, Ethan (December 10, 2020). "Lucasfilm Announces 'The Mandalorian' Spin-Offs 'Ahsoka' and 'Rangers of the New Republic'". /Film. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 11, 2020. สืบค้นเมื่อ April 25, 2022.
- ↑ D'Alessandro, Anthony (2020-07-13). "'Star Wars: The Bad Batch': New Animated Series To Debut On Disney+ In 2021". Deadline (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-04-29.
- ↑ Romano, Nick (March 30, 2021). "'Star Wars: The Bad Batch' trailer unveils the 'Clone Wars' spin-off, sets 70-minute premiere". Entertainment Weekly (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-04-29.
- ↑ Flook, Ray (April 27, 2022). "Tales of the Jedi: Star Wars Celebration Sched Lists Animated Series". Bleeding Cool (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ April 29, 2023.
- ↑ Lovitt, Maggie (2022-05-28). "'Star Wars: Tales of the Jedi' Coming to Disney+ This Fall". Collider (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-04-29.
- ↑ Andreeva, Nellie (September 10, 2022). "'Star Wars: The Bad Batch' Season 2 Debut Pushed To January; 'Tales Of The Jedi' Gets Premiere Date & Trailer". Deadline Hollywood. สืบค้นเมื่อ April 29, 2023.
- ↑ Hidalgo, Pablo [@pablohidalgo] (March 17, 2016). "There is no 525. The S6 production season only had 24 eps. Same with 7" (ทวีต) – โดยทาง ทวิตเตอร์.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Goldman, Eric (March 8, 2014). "Star Wars: The Clone Wars – Season 6 "The Lost Missions" Review". IGN. Ziff Davis, LLC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 29, 2017. สืบค้นเมื่อ March 2, 2017.
- ↑ Erdmann, Kevin (19 April 2020). "Clone Wars' Final Season Should Have Adapted This Darth Maul Comic". ScreenRant. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 25, 2020. สืบค้นเมื่อ 22 April 2020.
- ↑ "Full Synopsis For Christie Golden's Dark Disciple". MakingStarWars.net. March 21, 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 19, 2019. สืบค้นเมื่อ July 19, 2019.
- ↑ Hughes, Jason (September 26, 2014). "Unfinished 'Star Wars: The Clone Wars' Episodes Released Online". The Wrap. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 29, 2014. สืบค้นเมื่อ September 27, 2014.
- ↑ "Star Wars: The Clone Wars "Bad Batch" 4-Episode Arc Coming to Star Wars Celebration". StarWars.com. April 9, 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 8, 2020. สืบค้นเมื่อ February 26, 2021.
- ↑ Lawrence, Gregory (January 23, 2020). "Here's What's New on Disney+ in February 2020". Collider. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 25, 2020. สืบค้นเมื่อ January 24, 2020.